พรุ่งนี้วันสุดท้ายเปิดฟังความเห็น ร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี "กําหนดสถานที่ หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางรถไฟ" ถามย้ำ 3 ข้อ "หากไม่ให้ขายถาวร-ยกเว้นเฉพาะกิจกรรมพิเศษ " หลังบอร์ดควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตีกลับช่วงก่อนสงกรานต์ ปมขอยกเว้นขายเหล้าเบียร์บริเวณสถานีรถไฟหรือในขบวนรถที่อยู่บนทางรถไฟ เหตุข้อมูลยังไม่ชัดเจน แม้ รฟท.เสนอ "ขายเหล้าเบียร์ บนรถไฟ-สถานีรถไฟหัวลำโพง"
วันนี้ (14 พ.ค.2568) มีรายงานจากกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงความคืบหน้าในการเปิดรับฟังความคิดเห็น ร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางรถไฟ พ.ศ. ....
ภายหลังคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ มีมติให้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้นําเสนอเรื่องดังกล่าว เพื่อนําผลการรับฟังความคิ ดเห็นมาพิจารณาประกอบการจัดทําสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงาน การวิเคราะห์ผลกระทบต่อไป
เป็นการเปิดให้ประชาชนทั่วไป ผู้ประกอบการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ผู้บังคับใช้กฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ ภาคประชาสังคม นักวิชาการ แสดงความเห็น
"โดยได้เปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็น ระหว่างวันที่ 1 - 15 พฤษภาคม 2568 ผ่านระบบสารสนเทศของกรมควบคุมโรค ซึ่งจะครบกำหนดเปิดรับฟังความเห็นในวันที่ 15 พฤษภาคม นี้"
กรมควบคุมโรค แจ้งในหนังสือเวียนถึงหน่วยงานราชการทั่วประเทศศ ว่า ด้วยการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือ ที่ รพ.๑/๕๕๕/๒๕๖๗ ลงวันที่ 25 มีนาคม 2567
ขอให้พิจารณายกเว้นสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณสถานีรถไฟ หรือ ในขบวนรถที่อยู่บนทางรถไฟ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ และเพิ่มรายได้ให้กับการรถไฟแห่ง ประเทศไทย
ประกอบกับในคราวประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 นายกรัฐมนตรีเสนอว่า โดยที่รัฐบาลประกาศนโยบายให้ปี 2568 เป็นปีแห่งการท่องเที่ยวไทย Amazing Thailand Grand Tourism and Sports Year 2025
"โดยจะได้ส่งเสริมการจัดเทศกาลระดับโลกต่าง ๆ รวมถึงการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ทั้งในเมืองหลักและเมืองน่าเที่ยว ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้ประกอบการ ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร และสถานบริการอื่น ๆ"
อย่างไรก็ตาม มีข้อร้องเรียน เกี่ยวกับข้อจํากัดทางกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้แก่ นักท่องเที่ยว
มติ ครม. 13 กุมภาพันธ์ 2568 จึงมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการแก้ไข และปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เป็นอุปสรรคและข้อจํากัดในด้านต่าง
ๆ ทั้งนี้ ให้คํานึงถึงความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
ต่อมา กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้นําเสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์แห่งชาติ ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568
ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พิจารณามาตรการควบคุมสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์บนทางรถไฟ
"โดยเพิ่มข้อยกเว้นการขายในบริเวณที่จัดไว้สําหรับการจัดกิจกรรมพิเศษในโถงสถานี กรุงเทพ (ห้องปรับอากาศ) ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลําโพง) ซึ่งมีมาตรการคัดกรองและมาตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยของประชาชน และการจํากัดการ เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชน"
และในการประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครั้งที่ 3/2568 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ร่างประกาศสํานัก รัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางรถไฟ พ.ศ. ...
เพื่อปรับปรุงแก้ไขประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนทางรถไฟ พ.ศ. 2558 อันจะเป็นการลดอุปสรรคและข้อจํากัดในด้านต่าง ๆ และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล
สำหรับ ร่างประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กําหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์บนทางรถไฟ พ.ศ. ....
มีการกําหนดห้ามขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณสถานี รถไฟ หรือในขบวนรถที่อยู่บนทางรถไฟตามกฎหมายว่าด้วยการจัดวางการรถไฟและทางหลวง
"โดยเพิ่มเติม ข้อยกเว้นสําหรับการขายในบริเวณที่จัดไว้สําหรับการจัดกิจกรรมพิเศษในโถงสถานีกรุงเทพ (ห้องปรับอากาศ) ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลําโพง)"
ซึ่งจะต้องมีมาตรการคัดกรองและมาตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยของประชาชน และการจํากัดการเข้าถึงเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชน
สำหรับประเด็นคําถามทีรับฟังความคิดเห็น
1. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับการห้ามผู้ใดขายหรือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณสถานีรถไฟหรือในขบวนรถที่อยู่บนทางรถไฟ ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดวางการรถไฟและทางหลวง
2. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับการยกเว้นให้มีการขายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในบริเวณที่ จัดไว้สําหรับการจัดกิจกรรมพิเศษในโถงสถานีกรุงเทพ (ห้องปรับอากาศ) ภายในสถานีรถไฟกรุงเทพ
ที่มีการคัดกรอง และมาตรการที่จําเป็นเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยของประชาชน และการจํากัดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชน
3. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ ว่าการจัดกิจกรรมพิเศษ ที่จะได้รับยกเว้นให้ขายและบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ได้จะต้องได้รับอนุญาตจากประธานกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นครั้ง ๆ ไป
มีรายงานว่า การประชุมคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครั้งที่ 3/2568 เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568 นพ.ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงว่าที่ ประชุมคณะกรรมการฯ ยังไม่มีมติหรือรับหลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้
โดยให้นำกลับไปศึกษาอีกรอบก่อนนำมาเสนอใหม่ เนื่องจากหลังรับฟังข้อเสนอแล้ว ยังเห็นบางประเด็นที่ไม่ตรงกัน จึงเลื่อนไปก่อน ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย และทุกฝ่ายกลับไปจัดทำรายละเอียดกลับมาเสนออีกครั้งในการประชุมครั้งหน้า
"ซึ่งที่ยังเห็นไม่ตรงกัน คือรายละเอียดว่าจะให้ขายตรงไหน"
โดยเฉพะที่การรถไฟฯ เสนอว่า ร่างสำนักนายกฯ จะเป็นลักษณะพิเศษ เช่าเที่ยวทั้งหมด แต่ก็ยังมีข้อสงสัยกัน จึงเป็นที่มาที่กรรมการฯ ให้ รฟท.ไปทำนิยามมาให้ชัดเจน เพื่อให้ทุกคนสบายใจ ไม่ไปตีความ ยืนยันว่า ห้ามกรณีผู้โดยสารทั่วไป เราห้ามเด็ดขาดอยู่แล้ว ไม่ให้ยุ่งกับเด็ก สตรี
ดังนั้นความตั้งใจของเราต้องเป็นกลุ่มเดียวกัน ต้องเขียนนิยามให้ชัดเจน ในรายละเอียดที่เสนอต้องมีมาตรการคัดกรอง และมาตรการที่จำเป็นเพื่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม ความปลอดภัยของประชาชน
และการจำกัดการเข้าถึงแอลกอฮอล์ที่ไม่เหมาะสมของเด็กและเยาวชน ซึ่งเรามีอายุกำหนดห้ามขายอยู่แล้ว แต่ต้องเขียนในรายละเอียดให้ชัด
“ความเข้าใจของผมคือทั้งคันแล้วไปทีเดียว ไม่ใช่ว่าไปโบกี้หนึ่งแล้วไปอาละวาดอีกโบกี้อื่น แบบนี้ก็ไม่ใช่สิ่งที่เราอยากเห็น จึงบอกฝ่ายเลขาให้เขียนให้ชัด” นพ.ภาณุมาศ กล่าวเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2568
นพ.ภาณุมาศ กล่าวครั้งนั้นว่า ในส่วนของสถานีรถไฟ คือที่หัวลำโพง น่าจะชัดเจนแล้ว แต่จะให้หรือไม่ให้ตองรอกรรมการฯ ซึ่งรายละเอียดคือ เฉพาะห้องโถงที่ปรับอากาศ แต่ย้ำว่า ไม่ให้มีการตั้งร้านขายถาวรแต่อย่างใด
ทั้งนี้ กรมสรรพสามิตต้องไปออกใบอนุญาตขายชั่วคราว.