“แอนแทรกซ์”(Anthrax) โรคติดต่อที่หลายๆ คนเคยคุ้นหู ซึ่งได้ถูกพูดถึงอีกครั้ง หลังจากมีการระบาดเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร โรคแอนแทรกซ์เป็นโรคที่ถูกพูดถึงมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากเป็นโรคระบาดร้ายแรงที่สามารถทำให้ทั้งคนและสัตว์เสียชีวิตได้ โดยสาเหตุของโรคมาจาก แบคทีเรียบาซิลัส แอนทราซิส(Bacillus anthracis) ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียแกรมบวกรูปแท่งเส้นยาวรี (Gram positive rod) มักพบในดิน ซึ่งสามารถติดต่อสู่สัตว์และยังสามารถติดต่อสู่คนได้อีกด้วย
แบคทีเรียบาซิลัส แอนทราซิส เป็นเชื้อมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสภาพอากาศเป็นอย่างมาก และสามารถก่อให้เกิดโรคแอนแทรกซ์ได้แม้เวลาจะผ่านไปหลายปี สัตว์พาหะหลักคือ สัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดต่างๆ เช่น โค กระบือ แพะ แกะ สัตว์เหล่านี้สามารถนำเชื้อมาสู่คนได้จากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ หรือการบริโภคเนื้อสัตว์ดิบหรือปรุงไม่สุก
ส่วนใหญ่การสัมผัสเชื้อจะติดทางผิวหนังด้วยการสัมผัสสัตว์ป่วย พบมากในกลุ่มที่มีอาชีพทางเกษตรกรรม คนชำแหละเนื้อ สัตวแพทย์ หรือผู้ที่ใกล้ชิดกับสัตว์ป่วย รวมทั้งการกินเนื้อสัตว์ที่ป่วยตายแล้วไม่ปรุงให้สุกเพียงพอ ผู้ป่วยจะมีระยะฟักตัว ประมาณ 1 - 7 วัน มีอาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง มีแผลคล้ายโดนบุหรี่หรือของร้อนสัมผัส หายใจลำบาก หากมีอาการรุนแรงอาจมีโอกาสเสียชีวิตได้
อาการของโรคแอนแทรกซ์ในคนมี 3 แบบ ได้แก่
1. โรคแอนแทรกซ์ผิวหนัง (Cutaneous anthrax)จะเริ่มด้วยอาการคันบริเวณที่สัมผัสเชื้อ ตามมาด้วยตุ่มแดง (popule) แล้วกลายเป็นตุ่มพองมีนํ้าใส(vesicle) ภายใน 2 - 6 วัน จะเริ่มยุบตรงกลางเป็นเนื้อตายสีดำคล้ายแผลบุหรี่จี้ (eschar) รอบๆ อาการบวมนํ้าปานกลางถึงรุนแรงและขยายออกไปรอบเนื้อตายสีดำคล้ายแผลบุหรี่จี้ (eschar) อย่างสมํ่าเสมอบางครั้งเป็นตุ่มพองมีนํ้าใส (vesicle) ขนาดเล็กแผลบวมนํ้า มักไม่ปวดแผล ถ้าปวดมักเนื่องจากการบวมนํ้าที่แผลหรือติดเชื้อแทรกซ้อน แผลมักพบบริเวณศีรษะ คอ (ดังรูปที่ 44) ต้นแขน และมือ(ดังรูปที่ 45) (พื้นที่สัมผัสโรคบนร่างกาย)
2. โรคแอนแทรกซ์ทางเดินหายใจ (Inhalational anthrax) เริ่มด้วยอาการคล้ายการติดเชื้อของระบบหายใจส่วนบนที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้ ปวดเมื่อยไอเล็กน้อย หรือเจ็บหน้าอก ซึ่งไม่มีลักษณะจำเพาะต่อมาจะเกิดการหายใจขัดอย่างเฉียบพลัน รวมถึงการหายใจมีเสียงดัง (stridor), อาการหายใจลำบากอย่างรุนแรง เกิดภาวะออกซิเจนลดตํ่าลง(hypoxemia), เหงื่อออกมาก (diaphoresis)ช็อก และตัวเขียว ภาพรังสีพบส่วนกลางช่องอก(mediastinum) ขยายกว้าง (ดังรูปที่ 46) ตามด้วยภายใน 3 - 4 วัน ทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ตรวจพบนํ้าท่วมเยื่อหุ้มปอด และบางครั้งพบ infi ltrate จากฟิล์มภาพรังสี
3. โรคแอนแทรกซ์ทางเดินอาหาร (Gastrointestinal anthrax) อาจเกิดในจุดใดจุดหนึ่งของลำไส้ และเกิดการอักเสบและบวมนํ้ามาก นำไปสู่การมีเลือดออก อุดตัน เป็นรู และมีนํ้าในช่องท้องมาก โรคแอนแทรกซ์ทางเดินอาหารไม่พบการเสียชีวิตที่แน่นอน แต่ด้วยการรักษา การเสียชีวิตสามารถเพิ่มสูงได้ ด้วยเกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก อาการโคม่าและเสียชีวิต
สำหรับอาการในสัตว์ มักพบว่าสัตว์จะมีไข้ ไม่กินหญ้าแต่ยืนเคี้ยวเอื้อง มีเลือดปนน้ำลายไหลออกมา ยืนโซเซ หายใจลำบาก กล้ามเนื้อกระตุก ชัก บางตัวอาจมีอาการบวมน้ำ มีเลือดไหลออกตามทวารต่างๆ หรือบางตัวอาจไม่แสดงอาการให้เห็น เพราะตายเร็วมาก ซากสัตว์จะนิ่มไม่แข็งตัว มีกลิ่นคาวและเน่าเร็ว ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสัตว์ที่ตายด้วยโรคนี้
ข้อมูลออ้างอิง
- สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
- กรมควบคุมโรค