xs
xsm
sm
md
lg

ปั่นกันสนุก!น้ำมันขึ้น$1-ทองลง ดาวโจนส์พุ่งพันจุด แย้มมะกัน-จีนคลายตึงเครียดการค้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



ราคาน้ำมันขยับขึ้นมากกว่า 1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในวันอังคาร(22เม.ย.) หลังสหรัฐฯคว่ำบาตรอิหร่ารอบใหม่ ส่วนวอลล์สตรีทฟื้นตัว จากแนวโน้มต่างๆที่บ่งชี้ว่าความตึงเครียดทางการค้าระว่างอเมริกากับจีนอาจผ่อนคลายลง ปัจจัยนี้ฉุดให้ทองคำขยับลง

สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัส อินเตอร์มีเดียต หรือไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 1.23 ดอลลาร์ ปิดที่ 64.32 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ด้านเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 1.18 ดอลลาร์ ปิดที่ 67.44 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล

สหรัฐฯในวันอังคาร(22เม.ย.) กำหนดมาตรการคว่ำบาตรรอบใหม่เล่นงานผู้ทรงอิทธิพลด้านธุรกิจลำเลียงก๊าซปิโตรเลียมเหลวของอิหร่านและน้ำมันดิบของอิหร่านรายหนึ่ง และเครือข่ายบริษัทของเขา

"แม้การเจรจาระหว่างวอชิงตันกับเตหะราน เกี่ยวกับโครงการนิวเลียร์ของอิหร่านจะมีความคืบหน้าในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่การที่ยังคงล้มเหลวในการบรรลุข้อตกลงหนึ่งๆ อาจเป็นตัวถ่วงการส่งออกน้ำมันของอิหร่าน ท่ามกลางความเคลื่อนไหวกระชับมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ" ตามความเห็นของจอห์น คิลดัฟฟ์ แห่งอะเกน แคปิตอล ในนิวยอร์ก

ส่วนตลาดหุ้นสหรัฐฯฟื้นตัวในวันอังคาร(22เม.ย.) จากรายงานผลประกอบการของหลายบริษัท และแนวโน้มต่างๆที่บ่งชี้ว่าความตึงเครียดทางการค้าระหว่างวอชิงตันกับปักกกิ่งอาจผ่อนคลายลง

ดาวโจนส์ เพิ่มขึ้น 1,016.57 จุด (2.66 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 39,186.98 เอสแอนด์พี เพิ่มขึ้น 129.56 จุด (2.51 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 5,287.76 จุด แนสแดค เพิ่มขึ้น 429.52 จุด (2.71 เปอร์เซ็นต์) ปิดที่ 16,300.42 จุด

สกอตต์ เบสเซนต์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯเผยว่าแม้การเจรจาการค้ากับปักกิ่งจะดูเหมือนเป็นงานยากลำบาก แต่เขาเชื่อว่าในท้ายที่สุดแล้วความคึงเครียดทางการค้าระหว่งอเมริกากับจีนจะผ่อนคลายลง

อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนต่างๆนานาสืบเนื่องจากสงครามทางการค้า กระตุ้นให้กองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯลงเหลือ 1.8% ในปี 2025 อ้างอิงผลกระทบของมาตรการรีดภาษีของอเมริกา ที่เวลานี้สูงสุดในรอบ 100 ปี

ด้านราคาทองคำขยับลงมากกว่า 1% ในวันอังคาร(22เม.ย.) หลัง เบสเซนต์ แย้มถึงความตึงเครียดทางการค้าที่ลดน้อยลงระหว่างสหรัฐฯกับจีน โดยราคาทองคำโคเม็กซ์งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน ลดลง 5.90 ดอลลาร์ หรือ 0.2% ปิดที่ 3,419.40 ดอลลาร์ต่อออนซ์

(ที่มา:รอยเตอร์)
กำลังโหลดความคิดเห็น