xs
xsm
sm
md
lg

หายวับเลย! ข้อความออนไลน์โดนลบเกลี้ยงในจีน โพสต์วิจารณ์ บ.ปักกิ่งสร้างตึก สตง.ที่พังถล่มในไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



การพังถล่มของตึกสูงแห่งหนึ่งในสร้างโดยบริษัทจีนในกรุงเทพฯ ได้รื้อฟื้นความกังวลที่มีมานานเกี่ยวกับความปลอดภัยในการก่อสร้างและศักยภาพของปักกิ่งในการควบคุมมาตรฐานคุณภาพของโครงการทั้งหลายในต่างแดน อย่างไรก็ตามในจีนแผ่นดินใหญ่ เสียงวิพาษ์วิจารณ์ดังกล่าวได้หายวับไปอย่างรวดเร็วบนสื่อสังคมออนไลน์แดนมังกร ตามรายงานของเรดิโอฟรีเอเชีย

แผ่นดินไหวระดับ 7.7 สั่นสะเทือนพม่าและประเทศเพื่อนบ้านหลายชาติ ในนั้นรวมถึงไทย เมื่อวันศุกร์(28มี.ค.) ในบรรดาอาคารที่ได้รับความเสียหาย รวมไปถึงตึกสำนักงาน 32 ชั้่นแห่งหนึ่งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในกรุงเทพฯ ที่พังถล่มลงมาทั้งหลัง อาคารแห่งนี้สร้างโดย China Railway No. 10 Engineering Group บริษัทลูกของบริษัทหนึ่งที่มีรัฐจีนเป็นเจ้าของ ส่วนหนึ่งในกิจการร่วมค้า

รายงานของเรดิโอฟรีเอเชีย ระบุว่าข่าวคราวเกี่ยวกับอาคารพังถล่มถูกแพร่กระจายอย่างรวดเร็วบนสื่อสังคมออนไลน์จีน โดยพวกผู้ใช้สื่อออนไลน์หลายคนเริ่มตั้งคำถามเกี่ยวกับความแข็งแรงในโครงสร้างของโครงการต่างๆในต่างแดนที่นำโดยจีน อย่างไรก็ตามประเด็นสนทนาดังกล่าวอยู่ได้ไม่นานหนัก โพสต์เหล่านั้นถูกลบไปแล้ว ค้นหาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ และแม้กระทั่งรายงานข่าวอย่างเป็นทางการก็ถูกลบออกไปอย่างเงียบๆ

ยกตัวอย่างเช่น บทความหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า "อาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างเกิดพังถล่มในแผ่นดินไหว ผู้รับเหมาไทยเจอกับวิกฤตสภาพคล่อง" ที่เผยแพร่โดยสำนักข่าว Sina Finance ของจีน ถูกลบออกไปจากเว็บไซต์ของสื่อแห่งนี้ หลังอยู่ได้ไม่กี่วัน

สื่อมมวลชนแห่งรัฐของจีน อย่างเช่นพีเพิลส์ ไชนา และ ซีซีทีวี เผยแพร่รายงานข่าวเกี่ยวกับเหตุอาคารถล่มในวันเดียวกัน แต่ลิงค์ที่เชื่อมไปยังรายงานข่าวดังกล่าวไม่สามารถเปิดดูได้แล้ว ตามรายงานของเรดิโอฟรีเอเชีย

ขณะเดียวกันการเสิร์ชหาโดยใช้คำที่เกี่ยวข้องกับเหตุอาคารถล่ม ตามแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆของจีน ก็ไม่ก่อผลลัพธ์ใดๆ บ่งชี้ว่าเนื้อหาที่เกี่ยวข้องถูกลบไปแล้ว หรือไม่ก็ถูกระงับ เรดิโอฟรีเอเชียระบุ

อ้างอิงข้อมูลจาก Seatao เว็บไซต์จีนที่รายงานเกี่ยวกับแผนโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก แถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) ระบุว่าโครงการก่อสร้างสำหรับสถานที่ใหม่ของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของไทย กำกับดูแลโดย China Railway No. 10 Engineering Group ซึ่งคว้าสัญญาการก่อสร้างในปี 2020 ส่วนหนึ่งของกิจการค้าร่วม

ข้อมูลของ Seatao ระบุว่าอาคารสูง 32 ชั้นแห่งหนึ่ง คือโครงการก่อสร้างอาคารใหญ่ที่สุดที่ทาง China Railway No. 10 Engineering Group เคยดำเนินการ และกิจการค้าร่วมดังกล่าว ประกอบไปด้วยบริษัทก่อสร้างของไทย อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์

เมื่อวันอาทิตย์(30มี.ค.) นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีอุตสาหกรรม ซึ่งตรวจสอบสถานที่เกิดเตหุ บอกว่าต้นตอของอาคารถล่มอาจมีบ่อเกิดจากวัตถุบพร่อง ออกแบบไม่ดีหรือกระทั่งการก่อสร้างแย่ๆ อย่างไรก็ตามเวลานี้อยู่ระหว่างการสืบสวน

เรดิโอฟรีเอเชีย ระบุว่า หวัง กัว-เฉิน ผู้ช่วยนักวิจัยจากสถาบันวิจัยเศรษฐกิจจงหัวในไต้หวัน ก็มีมุมมองแบบเดียวกัน "ไม่มีอาคารข้างเคียงในกรุงเทพฯพังถล่ม มีเพียงแห่งเดียว ยิ่งไปกว่านั้น แนวทางที่พังถล่มนั้นน่าตื่นตะลึงอย่างมาก มันพังครืนแหลกลาญ ไม่ใช่เอียงไปเอียงมาก่อนโค่น มันเป็นสัญญาณของการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานและลดต้นทุน" เขากล่าว พร้อมให้คำจำกัดความโครงการนี้ว่า "ตึกเต้าหู้"

หวังกล่าวต่อว่า "ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา สิ่งที่เรียกว่ามหัศจรรย์ความเร็วสูงและความก้าวหน้าของจีนในด้านเทคโนโลยีล้ำสมัย ค่อยๆบดบังอดีตที่ฝังใจเกี่ยวกับโครงการตึกเต้าหู้ต่างๆนานา อย่างไรก็ตามการพังถล่มของอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินครั้งนี้ จะย้อนให้ผู้คนมองว่าชื่อเสียงด้านเทคโนโลยีล้ำสมัยเป็นเพียงแค่การโฆษณาเกินจริงเท่านั้น"

สถานทูตจีนในประเทศไทย ยังไม่ตอบคำถาม หลังเรดิโอฟรีเอเชีย ติดต่อสอบถามความคิดเห็นในเรื่องนี้

ทางเรดิโอฟรีเอเชีย ระบุว่าตามหลังเหตุการณ์ที่เสียเลือดเนื้อต่างๆนนา บ่อยครั้งที่การสนทนาทางออนไลน์ในจีนมักถูกเซ็นเซอร์อย่างรวดเร็ว คีย์เวิร์ดค้นหาโดนบล็อค ข้อความที่โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์ถูกลบ และรายงานข่าวของสื่อมวลชนต่างๆถูกจำกัดอย่างหนัก ยกตัวอย่างเช่นเหตุแก๊สระเบิด คร่าชีวิต 25 ศพ ในมณฑลหูเป่ยในปี 2021 และเหตุอาคารกักกันโรคโควิด-19 พังถล่มในเฉวียนโจว ปี 2020 คร่าชีวิต 29 ศพ ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่ลบโพสต์ต่างๆอย่างรวดเร็ว ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางปฏิบัติของการก้อสร้างและการกำกับดูแลความปลอดภัย

หนึ่งในตัวอย่างที่โด่งดังที่สุดยังคงเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเสฉวนปี 2008 ซึ่งอาคารโรงเรียนต่างๆที่ก่อสร้างแบบลวกๆเกิดพัวถล่มลงมา โหมกระพือความเดือดดาลของประชาชน อย่างไรก็ตามข้อเรียกร้องขอคำตอบของบรรดาผู้ปกครอง ถูกปิดเงียบอย่างรวดเร็ว และรายงานข่าวอิสระก็ถูกจำกัดอย่างทันควันเช่นกัน

เจิง เว่ยเฟิง นักวิจัยจากสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติเจิ้งจื้อ ของไต้หวัน บอกว่าการที่สื่อมวลชนรายงานข่าวในวงกว้างเกี่ยวกับการพังถล่มลงมาของตึงสูงในกรุงเทพฯ ดูเหมือนจะก่อความเสียหายใหญ่หลวงแก่ชื่อเสียงของจีน ในการพัฒนาการโครงสร้างพื้นฐานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนยกระดับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้างทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขึ้นอย่างมาก หลักๆแล้วผ่านโครงการแถบและเส้นทาง มีที่เจตนาเข้าไปหาผลประโยชน์ร่วมกันเพื่อผสานเข้ากับนโยบายในพื้นที่นั้นๆ "บรรดาชาติอาเซียนอาจต้องประเมินความร่วมมือระหว่างพวกเขากับบรรดาบริษัทจีนเสียใหม่ พินิจพิเคราะห์รายละเอียดของโครงการต่างๆด้วยความระมัดระวังกว่าเดิม" เจิง เว่ยเฟิง ระบุ

(ที่มา:เรดิโอฟรีเอเชีย)
กำลังโหลดความคิดเห็น