xs
xsm
sm
md
lg

รู้ไหม? แผ่นดินไหวเกิดขึ้นตลอดเวลา และเหตุใด? “แผ่นดินไหว” จึงเกิดขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



การเกิดแผ่นดินไหว นักธรณีวิทยาได้อธิบายว่า มนุษย์เราอาศัยอยู่บนโลกที่ประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกมากมายและมีการขยับตัวตลอดเวลา ปรากฏการณ์แผ่นดินไหวจึงเป็นเรื่องปกติและสามารถเกิดขึ้นตลอดเวลา เพียงแต่เราจะรับรู้ได้แค่แรงสั่นไหวเมื่อเกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงเท่านั้น


ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อธิบายถึงสาเหตุของการเกิดแผ่นดินไหวว่ามี 2 สาเหตุหลัก คือ เกิดการกระทำของมนุษย์ เช่น การทดลองระเบิดปรมาณู การระเบิดเหมืองแร่ เป็นต้น และอีกสาเหตุซึ่งสาเหตุหลักในการเกิดแผ่นดินไหว คือ การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ

มี 2 ทฤษฎีที่ยอมรับถึงการเกิดแผ่นดินไหวตามธรรมชาติ คือ ทฤษฎีการขยายตัวของเปลือกโลก เมื่อเกิดการโก่งตัวอย่างฉับพลันและขาดออกจากกัน จะปล่อยพลังงานในรูปแผ่นดินไหว และอีกทฤษฎีคือการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อน เมื่อถึงจุดหนึ่งจะปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแผ่นดินไหว


การวัดแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวสามารถวัดโดยใช้การสังเกตจากไซสโมมิเตอร์ (seismometer) มาตราขนาดโมเมนต์เป็นมาตราที่ใช้มากที่สุด ซึ่งทั่วโลกใช้รายงานแผ่นดินไหวที่มีขนาดมากกว่า 5 และแผ่นดินไหวที่ขนาดเล็กกว่า 5 แมกนิจูด

แต่สำนักเฝ้าระวังแผ่นดินไหวแต่ละประเทศจะวัดด้วยมาตราขนาดท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ หรือเรียก มาตราริกเตอร์ ซึ่งสองมาตรานี้มีพิสัยความถูกต้องคล้ายกันในเชิงตัวเลข แผ่นดินไหวขนาด 3 หรือต่ำกว่าส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึกหรือรู้สึกได้เบามาก ขณะที่แผ่นดินไหวตั้งแต่ขนาด 7 อาจก่อความเสียหายรุนแรงเป็นบริเวณกว้างขึ้นอยู่กับความลึกของจุดที่เกิด

โดยความรุนแรงของแผ่นดินไหวสามารถวัดได้ทั้งขณะเกิดและหลังเกิด ขนาดและความสัมพันธ์โดยประมาณกับความสั่นสะเทือนใกล้จุดศูนย์กลางตามมาตราริคเตอร์ แบ่งได้ดังนี้

1.ความรุนแรง 1.0-2.9
เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนเริ่มรู้สึกถึงอาการสั่นไหว บางครั้งรู้สึกเวียนศีรษะ

2.ความรุนแรง 3.0-3.9 เกิดการสั่นไหวเล็กน้อย ผู้คนที่อยู่ในอาคารรู้สึกเหมือนรถไฟวิ่งผ่าน

3. ความรุนแรง 4.0-4.9 เกิดการสั่นไหวปานกลาง ผู้ที่อาศัยอยู่ทั้งภายในอาคารและนอกอาคารรู้สึกถึงการสั่นสะเทือน วัตถุที่ห้อยแขวนมีการแกว่งไปมา

4. ความรุนแรง 5.0-5.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงเป็นบริเวณกว้าง เครื่องเรือน และวัตถุมีการเคลื่อนที่

5. ความรุนแรง 6.0-6.9 เกิดการสั่นไหวรุนแรงมาก อาคารเริ่มเสียหาย พังทลาย

6. ความรุนแรง 7.0 ขึ้นไป เกิดการสั่นไหวอย่างร้ายแรง อาคาร สิ่งก่อสร้างได้รับความเสียหายอย่างมาก


ข้อมูลอ้างอิง : กรมทรัพยากรธรณี
กำลังโหลดความคิดเห็น