xs
xsm
sm
md
lg

สุดช็อก! กรีนพีซ เปิดชุดภาพธารน้ำแข็งในอาร์กติก “ละลายเร็ว ในช่วงศตวรรษนี้”

เผยแพร่:   ปรับปรุง:


รูปภาพประกอบด้วยภาพถ่ายที่ต่อกันเพื่อสร้างภาพพาโนรามา แสดงให้เห็นธารน้ำแข็ง Kongsvegen และ Pedersenbreen ที่รวมตัวกันและล้อมรอบภูเขา Nielsenfjellet นอก Ny ?lesund, Svalbard ภาพบน: ภาพพาโนรามาจากเอกสารสำคัญของสถาบันขั้วโลกนอร์เวย์ ถ่ายเมื่อปี 1967 (พ.ศ. 2510) ภาพล่าง: พาโนรามาถ่ายเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2024 เครดิตภาพ ? Christian ?slund /สถาบันขั้วโลกนอร์เวย์ / กรีนพีซ
กรีนพีซเผยชุดภาพธารน้ำแข็งละลาย แสดงให้เห็นว่าในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาธารน้ำแข็งในอาร์กติกละลายลงไปจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนถึง อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นในภูมิภาคอาร์กติก อันมีสาเหตุจากวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลก

ชุดภาพจากช่างภาพชื่อดังชาวสวีเดน Christian Åslund ซึ่งมีภาพถ่ายโด่งดังมาจนถึงปัจจุบัน โดยโปรเจคนี้เป็นการถ่ายภาพเปรียบเทียบกับภาพในอดีตจากคลังในสถาบันขั้วโลกของนอร์เวย์ (the Norwegian Polar Institutes) ซึ่งเมื่อเทียบกันแล้วทำให้เห็นถึงปริมาณที่น้ำแข็งละลายลงไปมาก สังเกตจากภาพเดิมที่เคยมีกำแพงธารน้ำแข็งขนาดใหญ่ แต่บัดนี้เหลือเพียงพื้นดินและน้ำที่ไร้น้ำแข็ง

ช่างภาพ Christian Åslund กล่าวว่า “ผมมีโอกาสถ่ายภาพธารน้ำแข็งหลากหลายแห่ง ทำให้เราเห็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแบบเดียวกันนั่นคือกำแพงธารน้ำแข็งเหล่านี้หายไปทั้งหมดแล้ว และธารน้ำแข็งก็ละลายจนไม่เหลืออะไรเลย ภาพถ่ายเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสภาพภูมิอากาศโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วท่ามกลางวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรง อาร์กติกคือตัวชี้วัดด้านสภาพภูมิอากาศของเรา อีกทั้งยังเป็นจุดที่วิกฤตสภาพภูมิอากาศและวิกฤตในมหาสมุทรมาบรรจบกัน อีกทั้งยังเป็นที่ที่เราจะมองเห็นผลกระทบของวิกฤตต่าง ๆ เป็นที่แรกและชัดเจนที่สุด”

อุณหภูมิที่ร้อนขึ้นอย่างฉับพลันในภูมิภาคอาร์กติกถือเป็นสถานการณ์ระดับโลก ธารน้ำแข็งและแผ่นน้ำแข็งที่ละลายหายไปเป็นสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันพื้นที่น้ำแข็งซึ่งแทนที่จะทำหน้าที่สะท้อนแสงอาทิตย์กลับละลายกลายเป็นน้ำทะเลซึ่งเผยให้เห็นก้นมหาสมุทรที่เป็นพื้นที่กักเก็บคาร์บอน ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบสภาพภูมิอากาศโลก

ดังนั้น วิกฤตสภาพภูมิอากาศและมหาสมุทรล้วนเชื่อมโยงกัน เมื่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น ความสามารถในการปกป้องระบบนิเวศของมหาสมุทรก็ได้รับผลกระทบไปพร้อมกัน ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรชายฝั่งและความเป็น ‘บ้าน’ อันอุดมสมบูรณ์ให้กับสิ่งมีชีวิตในทะเลกำลังถูกคุกคามในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

รูปภาพประกอบด้วยภาพถ่ายที่ต่อกันเพื่อสร้างภาพพาโนรามา ภาพบน: ภาพพาโนรามาทางประวัติศาสตร์จากสถาบันขั้วโลกนอร์เวย์ในปี 1967 (พ.ศ. 2510) แสดงให้เห็นธารน้ำแข็ง Kongsbreen และ Kronobreen ที่รวมตัวกันและล้อมรอบเกาะ Colleth?gda นอก Ny ?lesund, Svalbard ภาพล่าง: ภาพพาโนรามาที่ถ่ายจากตำแหน่งเดียวกันโดยช่างภาพ Christian Aslund เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2024

บลอมสตรานด์บรีน, สฟาลบาร์ ภาพบน: เก็บภาพจาก Kongsborgen โดยมีธารน้ำแข็ง Blomstrandbreen เป็นพื้นหลัง ในปี 1918 (พ.ศ.2461) ภาพล่าง: ถ่ายในตำแหน่งเดียวกันโดยช่างภาพ Christian Aslund 27 สิงหาคม 2024
ดร.ลอว์รา เมลเลอร์ หัวหน้าโครงการของกรีนพีซ นอร์ดิก กล่าวว่า “ธารน้ำแข็งสฟาลบาร์บัดนี้กลายเป็นเพียงตำนาน และแม้ว่าเหล่านักวิทยาศาสตร์จะทราบถึงความจริงอันน่ากังวลเกี่ยวกับผลกระทบภาวะโลกเดือดในอาร์กติก การได้เห็นรูปภาพชุดนี้ทำให้เรารู้สึกหดหู่และใจสลายทุกครั้ง อาร์กติกคือจุดสูงที่สุดของโลกและเราเห็นสัญญาณอันตรายนี้แล้ว และยังส่งสัญญาณให้เห็นถึงผลกระทบที่เชื่อมโยงกันทั้งในมหาสมุทรและสภาพภูมิอากาศโลกในระยะยาว”

การหยุดหายนะทางวิกฤตสภาพภูมิอากาศจำเป็นจะต้องทำร่วมกับการปกป้องมหาสมุทรด้วยการกำหนดเขตคุ้มครองทางทะเลโลกเพื่อให้ระบบนิเวศได้ฟื้นฟูตัวเองและกลับมาอุดมสมบูรณ์พอที่จะช่วยให้โลกหลีกเลี่ยงผลกระทบที่แย่ที่สุดจากภาวะโลกเดือด

ภูมิภาคอาร์กติกกำลังร้อนเร็วขึ้นมากกว่าโลกถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นสัญญาณว่าภูมิภาคนี้กำลังล่มสลายลงจากหายนะของภาวะโลกเดือดที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ด้วยสถิติที่ถูกบันทึกเป็นประวัติการณ์

นอกจากที่จะต้องปลดระวางเชื้อเพลิงฟอสซิลในทันทีแล้ว การปกป้องมหาสมุทรก็เป็นเรื่องเร่งด่วนไม่แพ้กัน ดังนั้น เราจะต้องเรียกร้องให้การทำลายล้างมหาสมุทรทุกรูปแบบต้องหยุดทันทีไม่ว่าจะเป็น โครงการเหมืองทะเลลึกและภัยคุกคามอื่น ๆ รวมทั้งยังต้องปกป้องพื้นที่มหาสมุทรโลกอีก 30% ภายในปี 2573 กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกต้องให้สัตยาบันในสนธิสัญญาทะเลหลวงภายในเดือนมิถุนายน 2568 เพื่อให้โลกได้เดินหน้าแผนเขตคุ้มครองทะเลโลกให้เกิดขึ้นจริง รัฐบาลทั่วโลกยังจะต้องตกลงยอมรับที่จะระงับโครงการเหมืองทะเลลึกที่อันตรายอีกด้วย

ที่มา:https://www.greenpeace.org/aotearoa/press-release/shocking-new-images-illustrate-arctic-glaciers-retreat-in-last-century/
กำลังโหลดความคิดเห็น