xs
xsm
sm
md
lg

กองทัพเรือจัดพิธีบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่และเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



ผบ.ทร. นำบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ และเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธีก่อนการจัดขบวนพยุหยาตราตราทางชลมารค ในพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2567 เวลา 09.09 น. ที่อู่หมายเลข 1 อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงและเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี เพื่อ เป็นขวัญกำลังใจให้แก่กำลังพลประจำเรือและเจ้าหน้าที่ ในการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในพระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม เป็นไปด้วยความเรียบร้อย

โดยในช่วงเช้ากองทัพเรือได้จัดให้มีพิธีบวงสรวงพระภูมิเจ้าที่ในพื้นที่ต่างๆ โดยในส่วนของพิธีเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือพระราชพิธี ได้จัดขึ้นในพื้นที่อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ซึ่งเป็นพื้นที่จอดเรือพระที่นั่ง และเรือรูปสัตว์

เมื่อพนักงานอ่านโองการ บวงสรวงแม่ย่านางเรือพระที่นั่งและเรือพระราชพิธี ในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ทั้ง 52 ลำจบ ประธานในพิธีได้มอบพวงมาลัยให้กับผู้ควบคุมเรือพระที่นั่ง และนายเรือพระที่นั่ง

ทั้ง 4 ลำ และมอบพานพวงมาลัยนำไปบูชาแม่ย่านางเรือ ดังนี้

ผู้แทนนายเรือ เรือรูปสัตว์ 10 ลำ จำนวน 1 พาน
ผู้แทนนายเรือ เรือดั้ง 22 ลำ จำนวน 1 พาน
ผู้แทนนายเรือ เรือแซง 7 ลำ และเรือตำรวจ 3 ลำ จำนวน 1 พาน
ผู้แทนนายเรือ เรือแตงโม เรืออีเหลือง เรือทยานซล เรือเสือคำรนธุ์เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น จำนวน 1 พาน

สำหรับพิธีเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือ เป็นพิธีที่ชาวเรือมีความเชื่อกันมาแต่โบราณ ว่า เรือทุกลำ มีแม่ย่านางเรือสิงห์สถิตอยู่ คอยปกปักรักษา คุ้มครองป้องกันอันตรายทั้งปวงที่จะเกิดแก่เรือ ก่อนออกเรือทุกครั้งหรือการนำเรือไปใช้งาน จึงมักกระทำพิธีเซ่นไหว้แม่ย่านางเรือ หรือบูชาแม่ย่านางเรือก่อน เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นขวัญ กำลังใจ แก่กำลังพลประจำเรือ ถือเป็นประเพณีอย่างหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติกันต่อเนื่องมา ตราบจนปัจจุบัน
































กำลังโหลดความคิดเห็น