xs
xsm
sm
md
lg

ชาวญี่ปุ่น หวังว่า “รางวัลโนเบล” จะช่วยให้ผู้นำระดับโลกมาเยือน “อนุสรณ์เหตุการณ์ปรมาณู ฮิโรชิมา” มากขึ้น

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



นักท่องเที่ยวที่เยี่ยมชมอุทยานอนุสรณ์เหตุการณ์ระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมา หวังว่าผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูของญี่ปุ่นที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ จะช่วยเพิ่มความพยายามในการสร้างสันติภาพโลกและกระตุ้นให้ผู้นำโลกมาเยี่ยมชมสถานที่ดังกล่าว


สัปดาห์ที่ผ่านมา คณะกรรมการโนเบล มอบรางวัลให้กับกลุ่ม Nihon Hidankyo ซึ่งเป็นตัวแทนของผู้รอดชีวิตจากเหตุระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมาและนางาซากิ ในปี ค.ศ. 1945 สำหรับความพยายามที่ยาวนานหลายทศวรรษในการยกเลิกอาวุธนิวเคลียร์

“ในฐานะคนญี่ปุ่น ฉันเชื่อว่าเราต้องทำให้แน่ใจว่าสิ่งเดียวกันนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก” อุอิ โทริซาวะ นักเรียนอายุ 21 ปี ที่มาเยี่ยมชมสวนอนุสรณ์สันติภาพกล่าว

“เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่ได้รับความเดือดร้อนจากระเบิดปรมาณู และสามารถเกิดซ้ำได้ในประเทศอื่นๆ ฉันคิดว่าญี่ปุ่นน่าจะอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะหยุดยั้งสิ่งนั้น”

ทั้งนี้ วันครบรอบ 80 ปีของเหตุระเบิดจะมีขึ้นในเดือนสิงหาคมปีหน้า

สำหรับสวนสันติภาพฮิโรชิมา ดึงดูดไม่เพียงแต่ชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเป็นเวลานาน รวมถึงผู้นำระดับโลกอย่างบารัค โอบามา ซึ่งเคยพูดที่สถานที่ดังกล่าวในฐานะประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะที่ดำรงตำแหน่ง


สำหรับอนุสรณ์สันติภาพฮิโรชิมา ถือเป็นสัญลักษณ์ที่ย้ำเตือนถึงราคาของสงครามและความสำคัญของสันติภาพ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแนว Dark Tourism ที่สำคัญของเมือง ทั้งยังได้รับสถานะ “มรดกโลก” จากองค์การยูเนสโก

หนึ่งในภาพจำของสถานที่แห่งนี้ คือ อาคารส่งเสริมอุตสาหกรรมประจำจังหวัดฮิโรชิมาหลังเก่า ที่ออกแบบโดยสถาปนิกชาวเช็ก “ยาน เลตเซล” (Jan Letzel) เป็นอาคารที่มีชื่อเสียงตั้งแต่การก่อสร้างแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 1915 ซึ่งโดดเด่นด้วยการออกแบบสไตล์ยุโรป ตัวอาคารตั้งอยู่ ณ จุดที่อยู่ใต้ศูนย์กลางการระเบิดของระเบิดปรมาณูที่กองทัพสหรัฐฯทิ้งลงมา ในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1945

ถึงแม้ภายนอกอาคารจะลอกไปเกือบหมดแล้ว แต่โครงของอาคารยังคงหลงเหลืออยู่ ปัจจุบันโครงสร้างนี้ที่หลงเหลืออยู่นี้มีชื่อว่าโดมปรมาณูฮิโรชิมะ ซึ่งเป็นซากอาคารที่หลงเหลือจากระเบิดปรมาณู
กำลังโหลดความคิดเห็น