เอพี – รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2024 ตกเป็นของนักเศรษฐศาสตร์ 3 คนจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐฯค้นพบโลกที่เสรีและเปิดกว้างมากกว่านั้นจะมีความมั่งคั่งมากกว่า หนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ผู้ชนะเจ้าของผลการศึกษาความไม่เท่าเทียมว่าเหตุใดบางประเทศประสบความสำเร็จบางประเทศล้มเหลวชี้ การชนะรางวัลโนเบลที่ทรงเกียรตินี่ถือเป็นเครื่องยืนยันคุณค่าของสถาบันทางประชาธิปไตย พร้อมตั้งข้อสงสัย “จีน” จะยังคงความมั่งคั่งได้นานเท่าไรภายใต้สภาวะแวดล้อมระบบการเมืองแบบกดขี่ที่ต่างจากระบบการปกครองตามแบบประชาธิปไตยที่ยึคหลักในเสรีภาพและความเปิดกว้าง
เอพีรายงานวันนี้(14 ต.ค)ว่า คณะกรรมการราชวิทยาลัยทางวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนในวันจันทร์(14) ประกาศชื่อผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปีนี้ตกเป็นของ 3 นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันได้แก่ ดารอน อาเซโมกลู (Daron Acemoglu) ไซมอน จอห์นสัน (Simon Johnson) และ เจมส์ เอ. โรบินสัน (James A. Robinson) ในการศึกษาที่ทำให้สามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ถึงสาเหตุต้นตอถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวของประเทศ
“การแสดงถึงความสำคัญของสถาบันทางสังคมสำหรับความมั่งคั่งของประเทศ” ว่า คณะกรรมการราชบัณฑิตสภาด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนแถลงที่กรุงสต็อกโฮล์ม
ไซมอน จอห์นสัน (Simon Johnson) เป็นนักเศรษฐศาสตร์อังกฤษ-อเมริกันชื่อดัง เขาเกิดในเมืองเชฟฟิลด์ อังกฤษ ปัจจุบันอายุ 61 ปีเคยดำรงตำแหน่งนักเศรษฐศาสตร์ประจำกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF และปัจจุบันทำงานวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ MIT
ทั้งนี้อาเซโมกลู และ จอห์นสัน ทำงานวิจัยที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ MIT ในขณะที่ โรบินสัน ทำการวิจัยที่มหาวิทยาลัยชิคาโก
จาค็อบ สเวนส์สัน (Jakob Svensson) ประธานคณะกรรมการด้านรางวัลในสาขาเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า ผลการวิเคราะห์ของพวกเขาได้ทำให้สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งถึงต้นต่อว่าเหตุใดประเทศจึงล้มเหลวหรือประสบความสำเร็จ
ดารอน อาเซโมกลู นักเศรษฐศาสตร์อเมริกันเกิดในตุรกีซึ่งได้รับการติดต่อจากทางคณะกรรมการโนเบลในระหว่างที่เขาอยู่ในกรุงเอเธนส์ กรีซ เพื่อขึ้นพูดเป็นวิทยากรในงานสัมมนากล่าวว่า “คุณไม่สามารถคาดได้ต่ออะไรเช่นนี้”
อาเซโมกลูวัย 57 ปีกล่าวว่า งานวิจัยถูกยกย่อยโดยรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ที่ทรงเกียรติเป็นเครื่องตอกย้ำในคุณค่าของสถาบันทางประชาธิปไตย
ส่วนนักเศรษฐศาสตร์อังกฤษ เจมส์ เอ. โรบินสัน วัย 64 ปีแสดงความสงสัยในการให้สัมภาษณ์เอพีว่า เขาสงสัยว่าจีนนั้นจะยังคงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจได้นานเท่าไรตราบเท่าที่ยังคงรักษาระบบการเมืองแบบกดขี่ไว้
“มีตัวอย่างมากมายในประวัติศาสตร์โลกของสังคมเช่นนั้นที่ทำได้ดีมาเป็นระยะเวลาราว 40 ปี – 50 ปี” เขากล่าวทางโทรศัพท์ และเสริมต่อว่า
“สิ่งที่คุณได้เห็นคือมันไม่เคยจีรังยั่งยืน..อดีตสหภาพโซเวียตนั้นทำได้ดีมานานราว 50 ปี หรือ 60 ปี”
โรบินสันกล่าวว่า มีสังคมมากมายที่ประสบความสำเร็จจากการเปลี่ยนผ่านในสิ่งที่คนทั้งสามเรียกว่า “สังคมแบบร่วมกัน หรือ “inclusive society.’’
นักเศรษฐศาสตร์อังกฤษแสดงความเห็นว่า “มองไปที่สหรัฐฯ” และชี้ต่อว่า “นี่เป็นประเทศของทาส ของผู้มีอภิสิทธิ์เหนือกว่า ในที่สตรีไม่เคยได้รับโอกาสให้เป็นส่วนหนึ่งในเศรษฐกิจหรือการโหวต”
เขาเสริมว่า “ทุกประเทศที่ในปัจจุบันนั้นค่อนข้างแบบร่วมกันและเปิดกว้างทำให้สู่การเปลี่ยนผ่านนั้น” พร้อมชี้ว่า “ในโลกสมัยใหม่ คุณสามารถเห็นมันได้ในเกาหลีใต้ ในไต้หวัน และในมอริเชียส”
ทั้งนี้อาเซโมกลู และ โรบินสัน มีผลงานร่วมกันในการเขียนหนังสือเบสต์เซลเลอร์ปี 2012 ชื่อ “ทำไมประเทศจึงล้มเหลว: จุดตั้งต้นของอำนาจ ความมั่งคั่ง และความยากจน” หรือ “Why Nations Fail: The Origins of Power, Prosperity, and Poverty” ที่มีการโต้ว่า ปัญหาที่มาจากการกระทำของมนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ประเทศยังคงยากจน
ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์ทั้งสามพบว่า ระบบของสหรัฐฯนั้นแตกต่างที่ปกป้องสิทธิทางทรัพย์สินและอนุญาตให้พลเมืองอเมริกันสามารถแสดงความคิดเห็นต่อรัฐบาลของตัวเองได้
อย่างไรก็ตามอาเซโมกลูซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันในวันจันทร์(14)แสดงความวิตกต่อสถาบันทางประชาธิปไตยในสหรัฐฯและในยุโรปที่กำลังสูญเสียแรงสนับสนุนจากสาธารณะในโลกยุคใหม่ โดยเขาชี้ว่า เป็นเสมือนเป็นเครื่องชี้ว่าในเวลานี้ผู้คนกำลังผิดหวังในระบบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในอเมริกา และที่ยุโรปในอังกฤษและกรีซ
ขณะที่โรบินสันได้ตั้งคำถามไปถึงเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ที่กำลังจะเปลี่ยนโลกในเวลานี้ว่าชาติต่างๆจะสามารถควบคุมได้อย่างไร