xs
xsm
sm
md
lg

กรมอุตุฯ ประกาศคาดหมาย “ฤดูหนาว” ของไทยปีนี้ เริ่มสัปดาห์ที่ 3 ปลายเดือน ต.ค. ชี้หนาวกว่าปีที่ผ่านมา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ฤดูหนาว เริ่มสัปดาห์ที่ 3ของเดือนตุลาคม 2567 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2568 ระบุจะมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าปีที่ผ่านมา อุณหภูมิต่ำสุด 6-8 องศาฯ ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดบริเวณ กรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล 14 - 18 องศาฯ
วันนี้ (2 ต.ค.) กรมอุตุนิยมวิทยา เผยแพร่ประกาศการคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ.2567 โดยระบุว่า ฤดูหนาวของประเทศไทยปีนี้ คาดว่าจะเริ่มต้นประมาณปลายสัปดาท์ที่สามของเดือนตุลาคม 2567 ถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2568

บริเวณประเทศไทยตอนบน จะเริ่มประมาณปลายสัปดาห์ที่สามของเดือนตุลาคม 2567 ซึ่งจะช้ากว่าค่าเฉลี่ยปกติเล็กน้อย และจะสิ้นสุดประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2568

อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยบริเวณประเทศไทยตอนบนประมาณ 20 - 21 องศาเซลเซียส ซึ่งจะสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 19.9 องศา ซ.) และจะมีอากาศหนาวเย็นมากกว่าปีที่ผ่านมา (อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยปีที่ผ่านมา 21.6 องศา)

สำหรับอุณหภูมิต่ำที่สุดประมาณ 6-8 องศา ส่วนมากจะอยู่ตอนบนของทั้งภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนอุณหภูมิต่ำที่สุดบริเวณ กรุงเทพมหานคร 16 - 18 องศา และปริมณฑล 14 - 16 องศา

ช่วงเวลาที่มีอากาศหนาวเย็นที่สุด ประมาณต้นเดือนธันวาคม 2567 ถึงเดือนมกราคม 2568

สำหรับยอดดอยและยอดภู รวมทั้งเทือกเขาจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง

ส่วนภาคใต้ จะมีอากาศเย็นบางแห่งในบางช่วงส่วนมากตอนบบนของภาค แต่ยังคงมีฝนตกซุกหนาแน่นต่อไป โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม กับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งจะทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งได้ในหลายพื้นที่ สำหรับคลื่นลมในทะเลอ่าวไทยจะมีกำลังแรงเป็นระยะๆ ในบางช่วงมีคลื่นสูง 2-3 แมตร ส่วมทะเลอันตามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร

เดือนพฤศจิกายนและธันวาคม จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำ และมีโอกาสสูงที่จะพัฒนาตัวเป็นพายุหมุนเขตร้อน แล้วเคลื่อนตัวเข้ามาใกล้หรือเคลื่อนผ่านอ่าวไทยและภาคใต้ ซึ่งจะทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกชุกหนาแน่น รวมทั้งคลื่นลมจะมีกำลังแรง และอาจมีคลื่นพายุซัดฝั่ง ความสูงของคลื่นประมาณ 4-5 เมตร
กำลังโหลดความคิดเห็น