xs
xsm
sm
md
lg

นัดชี้ขาดคำสั่งเด้ง 'บิ๊กโจ๊ก' จบที่สตช.หรือศาลปกครอง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



นัดชี้ขาดคำสั่งเด้ง 'บิ๊กโจ๊ก' จบที่สตช.หรือศาลปกครอง

ในที่สุดเส้นทางชีวิติราชการของ 'บิ๊กโจ๊ก' พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร.กำลังเดินมาถึงจุดหักเหอีกครั้ง เมื่อคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ หรือ ก.พ.ค.ตร. ได้นัดพิจารณาคำร้องอุทธรณ์คำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน ของ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ซึ่งเป็นการนั่งพิจารณาครบองค์คณะ 6 คน ประกอบด้วย 1.นายสมรรถชัย วิศาลาภรณ์ ประธานก.พ.ค.ตร. 2.นายธวัชชัย ไทยเขียว กรรมการ 3.นายวันชาติ สันติกุญชร กรรมการ 4.พล.ต.ท.อาจิณ โชติวงศ์ กรรมการ 5.พล.ต.อ.อำนาจ อันอาตม์งาม กรรมการ และ6.พล.ต.ท.ปัญญา เอ่งฉ้วน กรรมการ ก.พ.ค.ตร. ส่วนพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี หนึ่งในคณะกรรมการได้ยื่นถอนตัวออกไป ตั้งแต่พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ยื่นอุทธรณ์ เนื่องจากเคยมีข้อพิพาทระหว่างกันในอดีต

ทั้งนี้ ตามขั้นตอนจะมีการเปิดโอกาสให้พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ผู้อุทธรณ์และคู่กรณี คือ พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. ขณะดำรงตำแหน่งรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รรท.ผบ.ตร.) เป็นผู้ลงนามคำสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน มาชี้แจงด้วยวาจา

ต่อจากนั้นจะมีการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำมาแถลงด้วยวาจาต่อคณะกรรมการฯ ประกอบกับพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงที่ได้รวบรวมไว้ก่อนหน้านี้ หาก ก.พ.ค.ตร.พิจารณาแล้วเห็นว่าคำสั่งให้พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ออกจากราชการไว้ก่อนไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะต้องมีคำสั่งให้พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ กลับเข้ารับราชการในตำแหน่งเดิมโดยทันที พร้อมคืนสิทธิประโยชน์ย้อนหลังไปจนถึงวันที่มีคำสั่งให้ออกฯ คือ วันที่ 18 เมษายน 2567

แต่หาก ก.พ.ค.ตร. วินิจฉัยว่าคำสั่งให้ออกฯ นั้น ชอบด้วยกฎหมายแล้ว พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ ก็สามารถใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองสูงสุดได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทราบ หรือถือว่าทราบคำวินิจฉัยของ ก.พ.ค.ตร.
กำลังโหลดความคิดเห็น