xs
xsm
sm
md
lg

คึกคัก! สถานศึกษาทั่วอีสาน ส่งทีมร่วมแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ชิงตัวแทนแข่งระดับประเทศ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:


เวทีแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี 2567 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
สกลนคร-จัดแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2567 คึกคัก สถานศึกษาภาคอีสานส่งเยาวชนเข้าแข่งขันกว่า 63 ทีม ร่วมเฟ้นหาตัวแทนผู้เข้าแข่งขันในระดับตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับประเทศไทย


วันนี้ ( 27 ก.ค.) ที่หอประชุมวิโรจอิ่มพิทักษ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับบริษัท แกมมาโก้ (ประเทศไทย) จำกัด, สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปี 2567

กิจกรรมดังกล่าว เป็นเวทีให้เยาวชนไทยได้แสดงศักยภาพด้านการออกแบบบและเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ โดยหัวข้อการแข่งขันประเภท หุ่นยนต์อัตโนมัติ คือ Earth Allies ซึ่งการจัดแข่งขันโอลิมปีกหุ่นยนต์ ระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 มีนายชยุต วงศ์วณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร เป็นประธานในพิธีเปิด

ผศ.คร.เทิดศักดิ์ อินทโชติ กล่าวว่าในนามของผู้จัดการแข่งขันโอลิมปีกหุ่นยนต์ ประจำประเทศไทย กิจกรรมในครั้งนี้ เป็นเวทีแข่งขันการเขียนโปรแกรม และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างแรงบันดาลใจ รวมถึงจุดประกายสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยให้ก้าวไกลต่อไป ในอนาคตตามนโยบายประเทศไทย 4.0






การแข่งขันโอลิมปีกหุ่นยนต์ ระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีทีมเข้าร่วมกว่า 63 ทีม หรือ 300 คน จากหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การแข่งขันแบ่งออกเป็น 3 รุ่น คือรุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี จำนวน 18 ทีม รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี จำนวน 20 ทีม และรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี จำนวน 25 ทีม โดยผู้เข้าแข่งขันจะต้องเขียนโปรแกรมและออกแบบหุ่นยนต์เพื่อทำภารกิจที่กำหนดในสนาม ผู้ชนะการแข่งขันในแต่ละรุ่น จะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน ระดับชิงแชมป์ประเทศในลำดับต่อไป

สำหรับโครงการแข่งขันโอลิมปีกหุ่นยนต์ (WRO 2024: World Robot Olympiad 2024) ในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐฯ และเอกชนมากมาย ไม่ว่าจะเป็นองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร และบริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
กำลังโหลดความคิดเห็น