xs
xsm
sm
md
lg

เทียบ DNA หาต้นตอ ปลาหมอคางดำ ซีพีซื้อ 2 ล้านกิโล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



เทียบ DNA หาต้นตอ ปลาหมอคางดำ ซีพีซื้อ 2 ล้านกิโล

ความคืบหน้าในการตรวจสอบหาต้นเหตุของการแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำธรรมชาติของปลาหมอคางดำ เริ่มปรากฎให้เห็นเป็นลำดับ โดยนายแพทย์วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการจารณาศึกษาสาเหตุ และแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำ เพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย พร้อมคณะเข้าร่วมประชุมกับ นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง และเข้าตรวจสอบห้องเก็บตัวอย่างปลา และห้องธนาคารดีเอ็นเอ และห้องปฏิบัติการจิโนมสัตว์น้ำ เพื่อทวงหาหลักฐาน และข้อมูล

ทั้งนี้ อธิบดีกรมประมง นำคณะอนุ กมธ.เยี่ยมชมห้องเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำ 2 ห้อง โดยห้องแรกเป็นห้องเก็บตัวอย่างที่มีสัตว์น้ำที่ดองไว้เป็นตัวอย่างหลากหลายชนิดประมาณ 160 ชนิด กว่า 5 พันโหล นอกจากนี้ ยังพบว่ามีโหลดองปลาหมอคางดำที่เก็บมาจากบ่อธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ซึ่งเก็บมาล่าสุดในเดือนกรกฎาคม และห้องปฏิบัติการจีโนมสัตว์น้ำ โดยระหว่างการเยี่ยมชม มีเจ้าหน้าที่ประมงหลายคนอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำอย่างละเอียด

นพ.วาโย กล่าวว่า หากเรามีครีบในปี 2553-2554 และบริษัทเอกชนส่งชิ้นครีบมายังกรมประมง ซึ่งมีชิ้นส่วนครีบปลาและเนื้อเยื่อที่ระบาดในปี 2560 และปัจจุบัน แล้วนำมาเทียบกัน ถ้าผลตรงกันหมดก็จบ สามารถรู้ต้นตอ

ขณะที่ มีความเคลื่อนไหวจากบริษัทเอกชนที่ถูกอ้างถึง โดยนายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ประกาศความร่วมมือกับคณาจารย์จาก 3 สถาบันการศึกษาชั้นนำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อแก้ไขสถานการณ์ของปลาหมอคางดำ ภายใต้แผนปฏิบัติการเชิงรุก 5 โครงการ

โครงการที่ 1 ทำงานร่วมกับกรมประมงสนับสนุนการรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัดทั่วประเทศที่มีการระบาด ราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 2,000,000 กิโลกรัม นำมาผลิตเป็นปลาป่น โดยโรงงานปลาป่นศิริแสงอารำพี จังหวัดสมุทรสาคร รับซื้อไปแล้ว 600,000 กิโลกรัม และยังมีแผนรับซื้ออย่างต่อเนื่อง

โครงการที่ 2 สนับสนุนภาครัฐและชุมชน ปล่อยปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำ จำนวน 200,000 ตัว ให้กับประมงจังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และจันทบุรี

โครงการที่ 3 สนับสนุนภาครัฐ ชุมชนและภาคประชาสังคม จัดกิจกรรมจับปลา สนับสนุนอุปกรณ์จับปลาและกำลังคน ในทุกพื้นที่ที่ประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง

โครงการที่ 4 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ

โครงการที่ 5 วิจัยหาแนวทางควบคุมประชากรปลาหมอคางดำในระยะยาว
กำลังโหลดความคิดเห็น