xs
xsm
sm
md
lg

ก้าวไกล มีขาสั่น ศาลรธน.เรียกเอกสาร คดีล้มล้างฯ รวมในคดียุบพรรค

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



ก้าวไกล มีขาสั่น ศาลรธน.เรียกเอกสาร คดีล้มล้างฯ รวมในคดียุบพรรค

ผลการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ 18 มิถุนายน ที่หลายฝ่ายให้ความสนใจติดตาม สรุปผลได้ดังนี้ เริ่มที่ คดีที่ ศาลปกครองกลางส่งคําโต้แย้งผู้ฟ้องคดีรวม 2 คําร้อง เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 ว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 36 มาตรา 40 มาตรา 41 และมาตรา 42 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 หรือไม่

โดยศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์วินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561 มาตรา 36 มาตรา 40 วรรคหนึ่ง (3) มาตรา 41 วรรคหนึ่ง (3)และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง (3) ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107

ทำให้การเลือกสว.ที่ผ่านมา ทั้งระดับอำเภอและจังหวัด ฉลุย ไม่มีปัญหาในเรื่องการจะต้องเป็นโมฆะแต่อย่างใด

ส่วนคดีสมาชิกวุฒนิสภา (สว.) 40 คน ในฐานะผู้ร้อง และนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 1 กรณีมีได้นำความกราบบังคมทูลเพื่อโปรดเกล้าฯ นายพิชิต ชื่นบาน เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 2 ) ทั้งที่รู้ หรือควรรู้ว่าอยู่แล้วว่า ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากนายพิชิต เคยถูกศาลฎีกา มีคำสั่งอันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัตตามมาตรฐานจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) และ(5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้ง 2 สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ ผู้ร้องจึงส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องเฉพาะส่วนของนายพิชิต แต่ในส่วนของนายเศรษฐา มีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณา ซึ่งนายเศรษฐาได้ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลแล้ว

ที่ประชุมตุลาการศาลรธน.วันนี้ พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา ให้หน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทำความเห็นและจัดส่งสำเนาเอกสารหลักฐานประเด็นที่ศาลกำหนดยื่นภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยกำหนดนัดพิจารณาต่อไปในวันที่ 10 ก.ค. 2567

เรียกได้ว่า คดีเศรษฐา ดูแล้วคงใช้เวลาอีกสักระยะ กว่าจะถึงวันนัดลงมติตัดสินคดี

ปิดท้ายที่ “คดียุบพรรคก้าวไกล” โดยที่ประชุมตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการอภิปรายในคำร้องที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)โดยนายทะเบียนพรรคการเมือง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคำสั่งยุบพรรคก้าวไกล และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของบุคคลผู้เป็นคณะกรรมการบริหารพรรคและห้ามมิให้ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารพรรคและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่หรือเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยพรรคการเมือง 2560 มาตรา 92 วรรคสอง และมาตรา 94วรรคสอง เนื่องจากมีพฤติการณ์กระทำการล้มล้างการปกครองฯ

ที่ประชุมตุลาการศาลรธน. เห็นว่าเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณา จึงกำหนดให้บุคคล(พยานตามบัญชีรายชื่อพยานของคู่กรณี) เสนอบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นล่วงหน้าต่อศาลรัฐธรรมนูญตามประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญต่อไป และมีคำสั่งให้นำพยานเอกสารในสำนวนการไต่สวนคดีคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 มารวมไว้ในสำนวนคดีนี้เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมกำหนดนัดพิจารณาต่อไปในวันพุธที่ 3 ก.ค 2567 และให้คู่กรณีเข้าตรวจพยานหลักฐานในวันอังคารที่ 9 ก.ค.25 67

จากคำสั่งนี้ ดูแล้ว คงไม่ค่อยเป็นผลดีกับพรรคก้าวไกล มากนักกับการที่ศาลรธน.จะนำพยานเอกสารในสำนวนการไต่สวนคดีล้มล้างการปกครองฯ หรือคดีตามคำวินิจฉัยที่ 3/2567 ที่ตัดสินเมื่อ 31 มกราคม 2567 มารวมไว้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคดียุบพรรคก้าวไกล เพราะอย่างที่รู้กัน ผลคำตัดสินคดีล้มล้างการปกครอง ฯดังกล่าว ไม่เป็นผลดีกับก้าวไกล เพราะคดีดังกล่าว ก็คือ สาเหตุที่นำมาสู่คดียุบพรรคก้าวไกลในเวลานี้นั่นเอง
กำลังโหลดความคิดเห็น