xs
xsm
sm
md
lg

บางกอกแอร์เวย์สติดปีกสู่ “ท้องฟ้าโลว์คาร์บอน” ผสานพลังยั่งยืนร่วม OR นำร่องการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



สุราษฎร์ธานี - บางกอกแอร์เวย์สติดปีกสู่ “ท้องฟ้าโลว์คาร์บอน” ผสานพลังยั่งยืนร่วม OR นำร่องการใช้เชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) พร้อมยกระดับ “กรีนแอร์พอร์ต” นำภาคการบินสู่เป้าหมาย NET ZERO

วันนี้ (12 มิ.ย.) ที่ท่าอากาศยานเกาะสมุย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ สายการบินบางกอก แอร์เวย์ส เดินหน้าโครงการ “Low Carbon Skies by Bangkok Airways” ผลักดันสายการบินสู่ความยั่งยืน พร้อมลดการปล่อยคาร์บอนจากส่วนปฏิบัติการด้านการบิน โดยล่าสุดจับมือกับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR นำร่องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ SAF ในเที่ยวบินของบางกอกแอร์เวย์ส เส้นทางสมุย-กรุงเทพฯ พร้อมเผยถึงแผนและแนวทางการพัฒนาสนามบินภายใต้การบริหารสู่ความยั่งยืนในอนาคต


โดยนายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สายการบินบางกอกแอร์เวย์สมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อก้าวสู่เป้าหมาย “สายการบินยั่งยืน” พร้อมเดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้นโยบาย ESG ในทุกมิติ โดยกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อมในปีนี้ ได้ริเริ่มโครงการ “Low Carbon Skies by Bangkok Airways” เพื่อมุ่งลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนจากการดำเนินธุรกิจทั้งระบบ โดยเฉพาะในส่วนปฏิบัติการด้านการบิน (Airlines) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สร้างคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากที่สุด สายการบินได้กำหนดพันธกิจการดำเนินงานในด้านต่างๆ เช่น ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและพลังงานทางเลือก และเพื่อให้เป้าหมายดังกล่าวมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้น

ล่าสุด สายการบินได้ดำเนินความร่วมมือกับบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน หรือ Sustainable Aviation Fuel (SAF) ในเที่ยวบินนำร่องของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนให้มีการใช้เชื้อเพลิงพลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศ ทั้งนี้ การดำเนินตามแนวทางดังกล่าวยังสอดรับกับทุกภาคส่วนทั่วโลกที่ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศเป็นศูนย์ในปี 2050 (Net Zero Carbon Emission 2050) และตามมาตรการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) รวมถึงสมาคมการบินระหว่างประเทศ (IATA)


“เพื่อตอกย้ำถึงบทบาทการเป็นสายการบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดในโลก และสายการบินระดับภูมิภาคที่ดีที่สุดในเอเชีย การันตีด้วยรางวัลเกียรติยศจากสกายแทร็กซ์ 7 ปีซ้อน สายการบินจึงมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และประสบการณ์เดินทางที่น่าประทับใจให้ผู้โดยสาร"

นอกจากนี้ บางกอกแอร์เวย์สยังมุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการบินสีเขียวให้เป็นที่แพร่หลายทั้งในประเทศไทยและภูมิภาค จึงได้พัฒนากระบวนการดำเนินงานด้านการปฏิบัติการบิน ภายใต้ความปลอดภัยสูงสุด เพื่อช่วยลดการปล่อย CO2 มาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการใช้น้ำมันอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2023 ที่ผ่านมาสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับ 11,321 ตัน หรือมากกว่า 200 กิโลกรัม/เที่ยวบิน และการเติมน้ำมัน SAF ในเที่ยวบินนำร่องของบางกอก แอร์เวย์สในครั้งนี้สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซ CO2 โดยประมาณ 1,346 กิโลกรัมต่อเที่ยวบิน”


ด้าน นายดิษทัต ปันยารชุน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR กล่าวว่า ความร่วมมือของ OR และบางกอกแอร์เวย์สในโครงการ Low Carbon Skies by Bangkok Airways โดยการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) ครั้งนี้ มุ่งสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสู่โลกที่สะอาดและยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมการบิน โดยน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน (SAF) เป็นน้ำมันที่มีคุณสมบัติทางเคมีที่คล้ายคลึงกับน้ำมันเจ็ท ผลิตจากน้ำมันทำอาหารที่ใช้แล้ว หรือที่เรียกว่า UCO (Used Cooking Oil) โดย SAF สามารถผสมเข้าไปกับน้ำมันเจ็ทเพื่อให้ใช้ในเครื่องบินได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนหรือปรับปรุงเครื่องยนต์ ถือว่าเป็นพลังงานที่ลดการปลดปล่อย Carbon ซึ่งเชื้อเพลิง SAF สำหรับเที่ยวบินปฐมฤกษ์นี้ ได้รับความร่วมมือจาก บริษัท ปตท. ค้าสากล จำกัด (PTTT) บริษัทในกลุ่ม ปตท. เป็นผู้จัดหาและนำเข้า นอกจากนี้ ความร่วมมือครั้งนี้ยังสอดคล้องกับเป้าหมาย OR SDG โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน “G” หรือ “GREEN” หรือการสร้างโอกาสเพื่อสังคมสะอาด ที่มุ่งสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ (Healthy Environment) เพื่อตอบโจทย์เป้าหมาย OR 2030 อย่างมีประสิทธิภาพ


ขณะที่ นายนิจพัฒน์ ปิยะพันธ์ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายสนามบิน บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นอกจากการยกระดับความยั่งยืนในมิติของ Airlines แล้ว บริษัทยังตั้งเป้าหมายและวางแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนาสนามบิน 3 แห่ง (สมุย สุโขทัย ตราด) ภายใต้การบริหาร เพื่อก้าวสู่ความยั่งยืนในอนาคต ผ่านแนวคิด Green Airport โดยมีสนามบินสมุย ซึ่งเป็นสนามบินเเห่งเเรกที่ได้รับการรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพรินต์จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นต้นแบบตามแนวทางดังนี้ ด้านการออกแบบอาคารผู้โดยสาร โดยเลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติ และอาคารที่โปร่งแสงรับแสงจากธรรมชาติ ลดการเปิดไฟ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยรอบสนามบิน

ในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น การติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ให้บริการผู้โดยสาร การเปลี่ยนสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ เป็นสารทำความเย็นที่มีอัตราการเผาไหม้ที่ต่ำ และหลอดไฟภายในสนามบินกว่า 80% เป็นหลอด LED การจัดการของเสีย จัดตั้งถังแยกขยะตามประเภท รณรงค์การใช้พลาสติกเป็นศูนย์ และใช้ภาชนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การบำบัดน้ำเสียแบบครบกระบวนการ โดยนำน้ำมารีไซเคิล เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ภายในสนามบิน ซึ่งทำให้การปล่อยน้ำเสียออกสู่ธรรมชาติเป็นศูนย์ และลด CO2 จากการใช้น้ำได้กว่า 39.7 ตันคาร์บอนไดออกไซด์/ปี ส่วนแผนดำเนินงานสู่เป้าหมายการปล่อยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เช่น แผนปรับปรุงระบบไฟส่องสว่างของลานจอดให้เป็น LED ทั้งหมด การติดตั้ง Solar Cell แผนการปรับใช้รถให้บริการภาคพื้นดินเป็นระบบไฟฟ้า และการพัฒนาสนามบินให้เป็น Green Terminal


ภายหลังจากเสร็จสิ้นการเยี่ยมชม เติมน้ำมันเครื่องบินแล้ว นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าแนวโน้มเปอร์เซ็นต์ของโลกที่จะมีแนวทางนำน้ำมันทางเลือกมาใช้สำหรับดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม อันนี้จะเป็นน้ำมัน ซี่งจะเป็นน้ำมันผลิตมาจากน้ำมันครัวเรือนเหลือใช้แล้ว เหลือทิ้ง เปลี่ยนมาให้มาเป็นน้ำมันที่สามารถแปลงโมเลกุล และเอามาใช้เสมือนเป็นน้ำมัน เอส เอ วันใช้เติมเครื่องบิน ในหลักการนี้มองว่าเป็นสิ่งที่แนวโน้มของโลกเคลื่อนไปในแนวทางนั้น รวมถึงเรื่องนโยบายของบริษัท ดูแลเรื่องความยั่งยืน ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหนึ่งในแกนหลักที่ต้องเข้าไปดูแล เพราะฉะนั้นการที่เลือกใช้หรือเริ่มแคมเปญของการใช้น้ำมันทางเลือกเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาต่อไปในการสร้างผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องและสามารถช่วยดูแลสภาพแวดล้อม

นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ ยังกล่าวต่ออีกว่า เริ่มก็อยากจะรู้ว่าการที่นำน้ำมัน SAF เข้ามาใช้มีผลกระทบอะไรบ้าง ก่อนอื่นมีการศึกษาจากผู้ผลิตเครื่องบิน ซัปพลายเออร์ ว่าสิ่งที่มีเป็นยังไง ต้องศึกษาก่อน เราเริ่มนำมาใช้ในสภาพการใช้งานจริง แต่การใช้เต็มที่ตลอดไปสู่ความยั่งยืนในอนาคตต้องไปดูว่าเรามีความพร้อม มีความมั่นใจ ในการผลิตน้ำมัน หรือซัปพลายเออร์มีความสามารถในการผลิตน้ำมันขึ้นมาเพื่อรองรับให้สายการบินใช้ได้ต่อไป จะเป็นสิ่งที่ค่อยๆ พัฒนาและปรับปรุง เป็นข้อตกลงของสมาคมสายการบิน ไม่ว่าจะเป็นแอร์เชีย แปซิฟิกหรือสถาบันการบิน ขนส่ง ไอซีโอ ตั้งเป้าจะมีการพัฒนาหรือการปรับเพิ่มน้ำมันซาบ มีเปอร์เซ็นต์ค่อยๆ สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งมองว่าผลที่ได้รับกลับมาคือผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ทำให้การปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนไดออกไซด์ดีขึ้น อันนี้ค่อยๆ ทยอย


ในสิ่งที่เป็นภาพร่วมทยอยรับมา เช่น ในระยะเวลาอันใกล้ ปี 2026 ใน 2 ปีข้างหน้า เรามองว่าจะมี 1% ตามแผนที่ว่าไว้ 5% สำหรับปีถัดไปในอนาคต สมุยเป็นเส้นทางที่เยอะที่สุด อาจจะมีสักครึ่งหนึ่งของปริมาณการบินภาพรวมทั้งหมดของเรา เพราะฉะนั้นสมุยคือสิ่งที่มองว่ามีผลกระทบ ถ้าทดลองแล้วนำมาใช้ได้สร้างความเชื่อมั่นในส่วนของผู้ที่รับรู้ เช่น ผู้โดยสารของเรา นักท่องเที่ยวที่เป็นยุโรปและเป็นชาวต่างชาติส่วนใหญ่มีความเชื่อมั่นว่าใช้แล้วเกิดความมั่นใจและมีความปลอดภัย
กำลังโหลดความคิดเห็น