xs
xsm
sm
md
lg

ไทยพีบีเอสชวนล้อมวงชิม “น้ำพริก” ไขปริศนาความเผ็ด เอกลักษณ์ของรสชาติไทย กับกิจกรรมเสวนา “ในรอยรสพริก” และ WORKSHOP SENSORY TEST ถอดรหัสรส

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



“น้ำพริก” อาหารประจำครัวเรือนทั้งเหนือ กลาง อีสาน ใต้ เป็นบริบทตัวแทนในสำรับไทยของยุคสมัย ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวผ่านกาลเวลา สะท้อนผ่านสังคมและวัฒนธรรมตั้งแต่ยุคแรกเริ่มที่ใช้ พริก มาปรุงอาหาร ไทยพีบีเอสชวนร่วมล้อมวง เรียนรู้ และเข้าใจนิเวศน้ำพริก เพื่ออนาคตความยั่งยืนและความมั่นคงทางอาหาร กับกิจกรรมเสวนา “ในรอยรสพริก”

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) หรือ ไทยพีบีเอส โดยศูนย์สื่อศิลปวัฒนธรรม และสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ ร่วมผลักดันน้ำพริกไทยไปสู่อาหารเครื่องจิ้มในระดับสากล จัดกิจกรรมเสวนา “ในรอยรสพริก” รวมผู้เชี่ยวชาญด้าน “น้ำพริก” ในหลากหลายด้าน ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา และความหลากหลายของนิเวศน้ำพริก ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อขับเคลื่อนองค์ความรู้ สร้าง และกระตุ้นให้เกิดการรับรู้เกี่ยวกับน้ำพริก และนิทรรศการ WORKSHOP SENSORY TEST ถอดรหัสรส ชิมน้ำพริกจากแม่ครัวระดับตำนาน ในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 เวลา 10.00-16.30 น. ณ ไทยพีบีเอส ถนนวิภาวดีรังสิต

ทั้งนี้ เวทีเสวนา “ในรอยรสพริก” ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญท่ามกลางศาสตร์ “น้ำพริก” มาร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แบ่งปันประสบการณ์และความรู้เกี่ยวกับน้ำพริกในมิติที่หลากหลาย ได้แก่ คุณกฤช เหลือลมัย นักโบราณคดี นักเขียน คอลัมนิสต์ และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อาหาร, คุณอนุสรณ์ ติปยานนท์ Food activist นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารในมิติประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม, รศ.ดร.วีระศักดิ์ สุระเรืองชัย นักวิจัยหัวหน้าโครงการ “เครื่องวัดความเผ็ด”, คุณจิรัศยา บุญคน แม่ครัวงานบุญ กลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง หนองหญ้าปล้อง, คุณสนชัย อุ่ยเต็กเค่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุดิบอาหารพื้นถิ่น เมืองระนอง และ คุณโตมร ศุขปรีชา นักเขียนและคอลัมนิสต์ ซึ่งเป็นผู้ดำเนินรายการเสวนาในครั้งนี้ด้วย

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรม Workshop ทดสอบประสาทสัมผัสด้วย Sensory Test ถอดรหัสรส & กลิ่น เรียนรู้เกี่ยวกับน้ำพริก ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ปฏิกิริยาสะท้อนผ่านน้ำพริกถ้วยโปรด จับคู่เครื่องเคียงที่คู่ควรกับน้ำพริก โดย คุณอนุสรณ์ ติปยานนท์ Food activist นักเขียนและผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารในมิติประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม และ คุณสริยา กัมปนาทแสนยากร Wine educator

ภายในงานยังมีกิจกรรมอีกมากมาย เช่น นิทรรศการประวัติศาสตร์ “น้ำพริก” เล่าเรื่องการเดินทางของพริกสู่ประเทศไทย “คนไทย” เริ่มกินพริกตั้งแต่เมื่อไร ทำความรู้จักเครื่องเทศท้องถิ่นที่ให้รสเผ็ด วัตถุดิบให้ความเผ็ดร้อนก่อนการเข้ามาของพริก และตัวอย่างน้ำพริกจาก 4 ภาค, นิทรรศการ/สาธิต เครื่องวัดความเผ็ด ว่าความเผ็ดคือรสชาติหรือแค่ความรู้สึก? ชวนมาไขปริศนาของ "แคปไซซิน" (Capsaicin) สารกระตุ้นที่อยู่ใน "พริก" ที่ทำให้เรารู้สึกเจริญอาหารยามรับรสเผ็ด ให้ความอร่อยจัดจ้านอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ และบูทกิจกรรม ปักหมุด “ถิ่นน้ำพริกไทย กับ C-Site” หมุดหมายที่จะทำให้ได้รู้ว่าน้ำพริกในประเทศไทยมีความหลากหลาย ทั้งรสชาติ วัตถุดิบ ที่สามารถสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ได้อย่างชัดเจน

สนใจเข้าร่วมกิจกรรมฯ สามารถสอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ทางโทรศัพท์ 0-2790-2627 หรือ 08-9203-2973 (จ.-ศ. 10.00-17.00 น.) รับจำนวนจำกัด กิจกรรม Workshop Sensory Test ถอดรหัสรส (จำนวน 40 ท่าน) และกิจกรรมเสวนา “ในรอยรสพริก” (จำนวน 80 ท่าน)

ติดตามรับชมเวทีเสวนา “ในรอยรสพริก” ได้ทางช่องทางออนไลน์ Facebook Fan page : Thai PBS, ไทยบันเทิง Thai PBS, Artclub Thai PBS, Localist, The North องศาเหนือ, อยู่ดีมีแฮง, แลต๊ะแลใต้ และ นักข่าวพลเมือง Thai PBS ในวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2567 ตั้งแต่เวลา 13.30 น.เป็นต้นไป
กำลังโหลดความคิดเห็น