xs
xsm
sm
md
lg

ปปช.ดองคดี 'บิ๊กโจ๊ก' นครบาล ขอสำนวนคืน ย้ำคดีอยู่ในอำนาจตำรวจ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



ปปช.ดองคดี 'บิ๊กโจ๊ก' นครบาล ขอสำนวนคืน ย้ำคดีอยู่ในอำนาจตำรวจ

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. นอกจากจะทำงานที่ไม่สามารถเรียกศรัทธาและความเชื่อมั่นให้กับประชาชนได้แล้ว หลังจากเพิ่งมีกรณีหวงเอกสารคดีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรีทั้งๆที่ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่ง ปรากฎว่าแม้แต่หน่วยงานภาครัฐด้วยกันเองก็ดูเหมือนว่าจะคลางแคลงใจการทำงานของป.ป.ช.ไม่ต่างกัน เนื่องจากล่าสุดกองบัญชาการตำรวจนครบาลทำหนังสือถึงป.ป.ช.เพื่อขอรับสำนวนการสอบสวนคดีอาญาของ สน.เตาปูนคืนกลับมา ซึ่งเป็นคดีที่มีการกล่าวหาว่า พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) รวมถึงตำรวจที่เกี่ยวข้องเข้าไปพัวพันกับขบวนการเว็บพนันออนไลน์

ทั้งนี้ หนังสือที่ ตช 0015.(น.2)/ 6763 ลงนามโดยพล.ต.ต.วสันต์ เตชะอัครเกษม รอง ผบช.น. ถึงเลขาธิการป.ป.ช.มีเนื้อหาสรุปโดยสรุปว่า 1.คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนตามคำสั่งกองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่54/2566ได้ส่งสำนวนคดีอาญาที่ 391/2566ของ สน.เตาปูน ซึ่งในเขตอำนาจของศาลอาญาและอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน มายังคณะกรรมการ ป.ป.ช.เพื่อพิจารณาสำนวนการสอบสวนกรณีที่มีผู้มากล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับพันตำรวจโทคริษฐ์ ปริยะเกตุ และนางสาวเบญจมิน แสงจันทร์ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของรัฐหรือบุคคลอื่นใดในข้อหาใดๆ บรรดาที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ตามและขอรับคืนกลับมายังพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย เนื่องจากบัดนี้ เลยกำหนดระยะเวลาตามกำหนดที่พนักงานสอบสวนได้ระบุไว้ในหนังสือตามที่อ้างถึงแล้ว แต่ท่านยังมิได้ส่งสำนวนในส่วนที่มีผู้ต้องหาหลายคน ซึ่งได้กระทำความผิดและอยู่ในอำนาจของศาลอาญา คืนกลับมายังพนักงานสอบสวนแต่อย่างใด

2.คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนคดีอาญาที่ 391/2566ได้ดำเนินคดีและรวบรวมพยานหลักฐานมาเป็นระยะเวลาพอสมควร และได้ความปรากฏชัดแล้วว่า กลุ่มผู้ต้องหามีเส้นทางการเงินเชื่อมโยงถึงกัน แม้จะมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดด้วย แต่จากพยานหลักฐานก็มิได้ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่และได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการได้ร่วมกันปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงไม่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.แต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา และอยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน

ดังนั้น การที่ศาลอาญาออกหมายจับ พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาลนั้น ย่อมหมายความถึงเพื่อให้พนักงานสอบสวนได้ตัวผู้ต้องหามาทำการสอบสวนและดำเนินคดีต่อไปได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการตามอำนาจและหน้าที่แจ้งข้อกล่าวหาในความผิดฐานดังกล่าวแก่ พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล กับพวก ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 มาตรา 134/3และมาตรา 134/ 4 แล้ว ผู้ต้องหาทั้งหมดอยู่ในอำนาจการควบคุมของพนักงานสอบสวน แต่พนักงานสอบสวนไม่สามารถดำเนินการตามกฎหมายต่อไปได้เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังไม่มีการส่งสำนวนการสอบสวนคดีนี้กลับคืนมา จึงเรียนมายังท่านเพื่อขอรับสำนวน ของ สน.เตาปูน คืนกลับมายังพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

สำหรับคดีนี้ผู้ต้องหาบางรายถึงถูกจับกุมและเข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2566 โดยได้รับการปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวน จึงเป็นเหตุให้มีกำหนดระยะเวลาสำหรับการปล่อยชั่วคราวเพื่อทำการสอบสวนให้เสร็จสิ้น จนถึงกำหนดศาลประทับรับฟ้อง

ทั้งนี้ ดังที่บัญญัติไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 113ซึ่งการขยายระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นแต่ต้องมิให้เกินหกเดือน ซึ่งระยะเวลาหกเดือนดังกล่าว ใกล้จะครบกำหนดในวันที่ 6 มิ.ย.2567 นี้แล้ว แต่หากท่านมิได้คืนสำนวนให้แก่พนักงานสอบสวนภายในกรอบเวลาตามกฎหมาย เพื่อให้มีการฟ้องคดีได้ภายในกำหนดระยะเวลาย่อมอาจเป็นเหตุเสียหายแก่สำนักงานตำรวจแห่งชาติและทางราชการได้ คณะพนักงานสืบสวนสอบสวนจึงขอรับสำนวนคดีในส่วนที่อยู่ในอำนาจของศาลอาญาคืน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายภายในวันที่ 4 มิ.ย.2567 จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
กำลังโหลดความคิดเห็น