xs
xsm
sm
md
lg

โปรดเกล้าฯ 'นครินทร์' ประธานศาลรธน.'ก้าวไกล' มีหนาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



โปรดเกล้าฯ 'นครินทร์' ประธานศาลรธน.'ก้าวไกล' มีหนาว

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญ และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ นายนครินทร์ เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญตั้งแต่ปีพ.ศ.2558 ตามคุณสมบัติที่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านรัฐศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ปรากฎว่าภายหลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหารปี 2557 ได้มีโอกาสดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ และ รองประธานคณะกรรมการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง สภาปฎิรูปแห่งชาติ นอกจากนี้นายนครินทร์ยังมีผลงานทางวิชาการด้านรัฐศาสตร์ รวมทั้งการวิจัยและศึกษาเหตุการณ์ประวัติทางการเมืองของไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงทางการปกครองพ.ศ.2475 เช่น หนังสือ “ความคิด ความรู้ และอำนาจการเมืองในปฏิวัติสยาม 2475″ และ “การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475″ เป็นต้น

ส่วนการวินิจฉยคดีที่สำคัญที่ผ่านมานั้นเว็บไซต์ศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตัวของนายนครินทร์ที่น่าสนใจ ดังนี้

1.คดีการถือหุ้นไอทีวีของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล แม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยว่าไอทีวีจะไม่ได้ประกอบกิจการสื่อสารมวลชนอีกต่อไปแล้ว แต่ในคำวินิจฉัยส่วนตัวของนายนครินทร์ ได้ระบุว่า บริษัทไอทีวี จำกัด (มหาชน) มีสถานะยังดำเนินกิจการอยู่ และเมื่อบริษัทไอทีวียังไม่ได้ดำเนินการใดๆ อันจะถือได้ว่ามีเจตนาจะเลิกบริษัท ก็ยังถือว่ามีเจตนาที่จะยังดำเนินการกิจการสื่อสารมวลชนตามวัตถุประสงค์หลักที่ได้จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

2.คดีการหาเสียงเลือกตั้งเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 โดยนายนครินทร์ให้ความเห็นไว้ในคำวินิจฉัยส่วนตนว่า ผู้ถูกร้อง(นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และ พรรคก้าวไกล) ได้กระทำการอันเป็นการรณรงค์ทางการเมืองอย่างต่อเนื่องในลักษณะปลุกระดมสาธารณชนให้สนับสนุนการยกเลิกหรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แม้จะเป็นการใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็น แต่พฤติการณ์กลับแสดงถึงเจตนามุ่งประสงค์ให้เกิดีวามเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายในทิศทางที่ส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อสถานะของพระมหากษัตริย์ในประการสำคัญ กล่าวคือ ส่งผลกระทบโดยอ้อมต่อการเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ของพระมหากษัตริย์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 6 ดังนั้น การกระทำของผู้ถูกร้อง จึงเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มลางการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาตรา 49 วรรคหนึ่ง

ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญมีคดีที่สำคัญและอยู่ในความสนใจของสังคมที่ต้องเตรียมพิจารณา คือ คดีการยุบพรรคก้าวไกล ภายหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้ส่งคำร้องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญดำเนินการตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำสั่งว่าจะรับไว้พิจารณษหรือไม่ เนื่องจากเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญพบว่ายังมีเอกสารบางรายการไม่ชัดเจน จึงได้ให้กกต.ส่งเอกสารฉบับที่ขัดเจนต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใยกำหนดระยะเวลา 7 วันนับแต่วันได้รับหนังสือ
กำลังโหลดความคิดเห็น