xs
xsm
sm
md
lg

8 สมุนบิ๊กโจ๊ก โอดถูกกลั่นแกล้ง ร้องโอนคดีให้ DSI

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



8 สมุนบิ๊กโจ๊ก โอดถูกกลั่นแกล้ง ร้องโอนคดีให้ DSI

ชั่วโมงนี้คงไม่มีเรื่องไหนจะน่าสนใจไปกว่าการเปิดศึกภายในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเฉพาะกรณีการกล่าวหาพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผบ.ตร. หรือ บิ๊กโจ๊ก มีส่วนพัวพันกับเว็บพนันออนไลน์ โดยก่อนจะมีการพุ่งเป้าที่บิ๊กโจ๊กอย่างที่ปรากฎในปัจจุบัน ก่อนหน้านี้บรรดาลูกน้องคนสนิทต่างโดนคดีกันถ้วนหน้า โดยเฉพาะพล.ต.ต.นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ ผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรมตำรวจนครบาล ที่โดนข้อหาความผิดฐานฟอกเงิน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ ได้มีความเคลื่อนไหวในกลุ่มคนสนิทบิ๊กโจ๊ก 8 คนที่โดนคดี ภายหลังมีการทำหนังสือถึงพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอให้โอนสำนวนคดีจากกองบังคับการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ

ทั้งนี้ หนังสือฉบับดังกล่าวลงนามโดยคนสนิทของบิ๊กโจ๊กทั้ง 8 คนประกอบด้วย
1.พล.ต.ต.นำเกียรติ ธีระโรจนพงษ์ ผู้บังคับการศูนย์ฝึกอบรมตำรวจนครบาล 2.พันตำรวจเอกภาคภูมิ พิศมัย รองผู้บังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 4 3.พันตำรวจเอกเขมรินทร์ พิศมัย ผู้กำกับตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดจันทรบุรี 4.พันตำรวจเอกอาริศ คูประสิทธิรัตน์ ผู้กำกับตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา 5.พันตำรวจโทคริษฐ์ ปริยะเกตุ รองผู้กำกับป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจพระสมุทรเจดีย์ 6.พันตำรวจตรีชานนท์ อ่วมทร สารวัตรป้องกันปราบปราม สถานีตำรวจภูธรพระประแดง 7.สิบตำรวจเอกณัฐวุฒิ หวัดแวว ผู้บังคับหมู่งานสายตรวจ 1 กองบังคับการจราจร 8.สิบตำรวจเอกอภิสิทธิ์ คนยงค์ ผู้บังคับหมู่งานสืบสวน สถานีตำรวจภูธรเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

สำหรับเหตุผลที่ค้องการให้มีโอนคดีไปยังกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอที่ระบุในหนังสือ ประกอบด้วย 1.คดีต่างๆ พนักงานสอบสวนทราบรายละเอียดตามข้อหาชัดแจ้งว่าเป็นการดำเนินคดีกับผู้ถูกกล่าวหาในฐานะเป็นที่เจ้าพนักงานตำรวจชั้นผู้ใหญ่ 2.คดีนี้เป็นคดีความผิดฐานฟอกเงินที่มีมูลฐานที่เป็นคดีอาญาอื่นที่มีมูลน่าเชื่อว่ามีทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดที่มีมูลค่าตั้งแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป

3.ลักษณะของการดำเนินคดีเป็นคดีความผิดหลายเรืองเกี่ยวพันกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 24 จึงชอบที่จะดำเนินคดีเป็นเพียงคดีเดียวกัน มิอาจแยกสำนวนหลายคดีได้ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิในกระบวนการยุติธรรมของผู้ต้องหาหรือผู้ถูกกล่าวหา 4.เนื่องจากพนักงานสอบสวนและกลุ่มของข้าพเจ้าต่างเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ อาจสอไปในทางที่จะเกิดข้อขัดแย้ง เพื่อให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

ตามพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ.2547 มาตรา 3 กำหนดนิยาม คดีพิเศษ หมายความว่า คดีความผิดทางอาญาตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 ซึ่งมาตรา 21 ว่าคดีพิเศษที่จะต้องดำเนินการสืบสวนและสอบสวนตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ คดีความผิดทางอาญาที่มีพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ต้องสงสัย โดยตามบัญชีแนบท้าย กคพ.ฉบับที่ 8พ.ศ.2565 กำหนดไว้ในข้อ 7 ว่าคดีความผิดมูลฐานเป็นคดีพิเศษที่มีอยู่ในอำนาจพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ความผิดมูลฐานที่เป็นคดีอาญาอื่นที่มีมูลน่าเชื่อว่ามีทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดที่มีมูลค่าความเสียหายตังแต่ 300 ล้านบาทขึ้นไป

ดังนั้น คดีต่างๆ ล้วนแต่เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจการสอบสวนของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษเท่านั้น แม้ว่าพนักงานสอบสวนชุดต่างๆ ได้มีการแยกสำนวนผู้ถูกกล่าวหาเฉพาะรายก็ตาม การที่พนักงานสอบสวนกระทำการสอบสวนต่อไป จึงล้วนเป็นการกระทำการสอบสวนที่ไม่มีอำนาจสอบสวนโดยชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีอำนาจในการสอบสวนแล้ว จึงชอบที่จะส่งมอบสำนวนคดีให้พนักงานสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการต่อไป หากมิได้ปฎิบัติตามข้อกฎหมาย อาจถือว่าเจตนาที่จงใจกลั่นแกล้งให้ข้าพเจ้ากับพวกไม่ได้รับความเป็นธรรมตามครรลองของกฎหมาย จึงเรียนมายังท่านในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดและรับผิดชอบสำนวนการสอบสวน เพื่อโปรดพิจารณาสั่งการให้พนักงานสอบสวนหยุดดำเนินการสอบสวนอีกต่อไปในทันที
กำลังโหลดความคิดเห็น