xs
xsm
sm
md
lg

ไนเจอร์จะกลายเป็นสมรภูมิใหญ่ของแอฟริกา?

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



ไนเจอร์จะกลายเป็นสมรภูมิใหญ่ของแอฟริกา?
โดย ทนง ขันทอง

เส้นตายวันอาทิตย์ที่ 6 สิงหาคมผ่านไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้นในไนเจอร์ หลังจากกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจรัฐแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) นำโดยไนจีเรียขู่ว่าจะส่งทหารเข้าไปโค่นล้มอำนาจของคณะนายทหารนำโดยพลเอกอับดุลราห์มาน ทะเชียนี
ที่ก่อรัฐประหารในไนเจอร์ ถ้าหากไม่มอบอำนาจคืนให้กับประธานาธิบดีมฮาเมด บาซูมที่ถูกจับควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ 26 กรกฎาคม

เกิดความแตกแยกใน ECOWAS ที่ดูเหมือนว่าจะทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงให้ฝรั่งเศสที่เคยปกครองแอฟริกาตะวันตกมาก่อน ว่าจะจัดการกับวิกฤติไนเจอร์อย่างไร จะใช้กำลังทางทหาร จะใช้วิธีเจรจา หรือจะปล่อยเลยตามเลย โดยที่ประชาคมเศรษฐกิจรัฐแอฟริกาตะวันตกมีสมาชิก 15 ประเทศ คือ
BENIN
BURKINA FASO
CABO VERDE
CÔTE D’IVOIRE
THE GAMBIA
GHANA
GUINEA
GUINEA BISSAU
LIBERIA
MALI
NIGER
NIGERIA
SENEGAL
SIERRA LEONE
TOGO

ประเทศหัวโจกของ ECOWAS ที่ต้องการส่งทหารเข้าไปจัดการกับกลุ่มก่อการรัฐประหารในไนเจอร์คือ ไนจีเรีย ไอวอรี โคสท์ เซเนกัล กับเบนิน โดยที่ฝรั่งเศส เจ้าอาณานิคมเก่าของไนเจอร์ สหรัฐ และสหภาพยุโรปจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะว่าถ้าต้องสูญเสียไนเจอร์จะเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของการสูญเสียอิทธิพลของฝรั่งเศสและตะวันตกในแอฟริกา ในขณะที่มีแนวโน้มจะภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกนี้จะร่วมมือกันเพื่อปลดแอกลัทธิล่าอาณานิคมของตะวันตก โดยจะหันไปร่วมมือกับรัสเซียและจีนอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
ในขณะเดียวกัน มาลี เบอร์กิน่า ฟาโซออกมาแสดงจุดยืนร่วมกันว่า จะให้ความช่วยเหลือทางทหารแก่ไนเจอร์ถ้าหาก ECOWAS ส่งกองทัพเข้ามาโจมตีไนเจอร์


Abdoulaye Maigal รัฐมนตรีด้านความมั่นคงของมาลี เรียกร้องให้อัลจีเรีย อิยิปต์ และแอฟริกาใต้เข้าไปช่วยแอฟริกาใต้เพื่อปลดแอกอิทธิพลของฝรั่งเศส และตะวันตก เพราะว่าลำพังไนเจอร์จะสู้สหรัฐ ฝรั่งเศส และนาโต้ไม่ได้

เขาบอกต่อไปว่า ได้เวลาที่แอฟริกาจะสร้างความมั่นคงร่วมกันทางทหาร เพื่อต่อสู้กับลัทธิล่าอาณานิคมกับการก่อการร้าย นอกจากนี้ ควรที่จะขับไล่ยูเอ็นออกไปจากทวีปแอฟริกาด้วย

ขณะเดียวกัน President Abdelmadjid Tebboun ของแอลจีเรียและ และประเทศชาดซึ่งไม่ได้เป็นสมาชิก ECOWAS และเป็นประเทศที่มีกำลังทหารแข่งแกร่งในระดับต้น ๆในภูมิภาค ต่างก็คัดค้านการใช้กำลังทางทหาร และไม่ต้องการใช้กำลังทหารแทรกแซงไนเจอร์ ส่วนประเทศมาลีและบูร์กินาฟาโซ ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไนเจอร์และถูกปกครองโดยรัฐบาลทหารเช่นกัน ออกมากล่าวไว้แล้วว่า การแทรกแซงของทางกลุ่มจะกลายมาเป็น “การประกาศสงคราม” กับพวกตนเช่นกัน

รัฐประหารในไนเจอร์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนใหญ่เพราะว่าเป็นการปลดแอกอิทธิพลของกากเดนอาณานิคมของฝรั่งเศสที่ยังคงวางระบบเพื่อกดขี่ และตักตวงทรัพยากรธรรมชาติของไนเจอร์ในนามของประชาธิปไตย โดยที่ประชาชนไนเจอร์ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย

กลุ่มกองเชียร์รัฐประหารหลายพันคนได้ไปชุมนุมกันที่สนามกีฬาแห่งหนึ่งในกรุงนีอาเม เมืองหลวงของไนเจอร์ในหลายวันที่ผ่านมา พร้อมกับโบกธงชาติรัสเซีย เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของคณะรัฐประหารที่จะไม่ยอมแพ้ต่อแรงกดดันจากภายนอก หลังจากที่ก่อการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 26 ก.ค.ที่ผ่านมา
ประชาชนชาวไนเจอร์ และประชาชนแอฟริกันมองเห็นว่ารัสเซีย และจีนเป็นมิตร ส่วนฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐ หรือตะวันตกถูกมองว่าเป็นพวกที่ยังไม่ยอมละทิ้งลัทธิล่าอาณานิคม

การรัฐประหารครั้งนี้ถือเป็นครั้งที่ 7 ที่เกิดขึ้นกับแอฟริกากลางและตะวันตกในรอบ 3 ปี และสร้างความระส่ำระสายต่อภูมิภาคซาเฮล (Sahel) ซึ่งจัดว่าเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ผู้คนยากจนที่สุดในโลก

ด้วยปริมาณยูเรเนียมและน้ำมันที่มีอยู่อย่างมหาศาล รวมถึงบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ ทำให้ไนเจอร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ชาติมหาอำนาจทั่วโลกให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ยุโรป จีน หรือรัสเซียอย่างไรก็ดี

ECOWAS จะมีการประชุมในวันที่10สิงหาคมนี้เพื่อกำหนดแนวทางต่อไป ว่าจะจัดการกับวิกฤติไนเจอร์อย่างไร เพราะเล็งเห็นถึงความเสี่ยงของการใช้ทหารเข้าไปแทรกแซง

สหรัฐมีทหาร 1000 คนอยู่ในไนเจอร์ตั้งแต่ 2013
ฝรั่งเศสมีทหาร 1,300 คน อิตาลีมีทหาร 300 คน

คณะรัฐประหารไนเจอร์ประกาศปิดน่านฟ้าแบบไม่มีกำหนด อ้างพบสัญญาณความเสี่ยงการรุกรานจากภายนอกจากมหาอำนาจประเทศหนึ่ง พร้อมปฏิเสธข้อเรียกร้องของกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจรัฐแอฟริกาตะวันตก (ECOWAS) ที่ขีดเส้นตายให้ต้องคืนอำนาจให้แก่ประธานาธิบดี โมฮาเหม็ด บาซูม ภายในวันอาทิตย์ (6 ส.ค.)ที่ผ่านมา

ทหารรับจ้างของรัสเซีย กลุ่มวากเนอร์ได้เดินทางเข้าไปในกีนี มาลี และเบอร์กินา ฟาโซ คาดว่าวากเนอร์จะช่วยไนเจอร์รบกับ ECOWAS ถ้าหากมีการส่งกองทัพเข้ามาจริงๆ เบอร์กินา ฟาโซ และพร้อมให้ความช่วยเหลือไนเจอร์ หากมีการร้องขอ วากเนอร์เป็นกองกำลังหลักที่ทำสงครามยูเครน เพื่อว่ารัฐบาลรัสเซียจะได้เชฟทหารประจำการของตัวเอง เพื่อรับมือศึกใหญ่กับยุโรปในวันข้างหน้า


ด้วยปริมาณยูเรเนียมและน้ำมันที่มีอยู่อย่างมหาศาล รวมถึงบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับกลุ่มติดอาวุธอิสลามิสต์ ทำให้ไนเจอร์เป็นหนึ่งในประเทศที่ชาติมหาอำนาจทั่วโลกให้ความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศสสหรัฐฯ ยุโรป จีน หรือรัสเซีย

สัปดาห์ที่แล้ว ไนเจอร์ได้ประกาศฉีกข้อตกลงความร่วมมือทางทหารกับฝรั่งเศส ซึ่งมีทหารประจำการอยู่ในประเทศแห่งนี้ราว 1,000-1,500 นาย
ส่วนทหารสหรัฐถูกสั่งให้อยู่ภายในฐานทัพไม่ให้ออกมาป้วนเปี้ยน

ไนเจอร์มีความสำคัญมากทางยุทธศาสตร์สำหรับฝรั่งเศสและยุโรป เพราะว่าไนเจอณือุดมสมบูรณ์ด้วยยูเรเนียม ทองคำ และน้ำมัน
ไนเจอร์ซับไพลพลังงานให้ยุโรป 27 ประเทศ ด้วย 20% ยูเรเนียมเพื่อขับเคลื่อนโรงงานไฟฟ้า ฝรั่งเศส 15% 1ใน3ของหลอดไฟในยุโรปมาจากไนเจอร์
แต่มีเพียง 19% ของไนเจอร์มีไฟฟ้าใช้ จากระบบกดขี่ที่เป็นมรดกของลัทธิล่าอาณานิคมของฝรั่งเศส

รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วิกตอเรีย นูแลนด์ เดินทางไปไนเจอร์ในช่วงต้นสัปดาห์ทีผ่านมา เพื่อพูดคุยกับคณะนายทหารที่ก่อการรัฐประหาร เธอกล่าวว่า การสนทนานั้น “ตรงไปตรงมามากและบางครั้งก็ค่อนข้างยาก”

นูแลนด์ต้องการให้คณะรัฐประหารคืนอำนาจให้กับประธานาธิบดีบาซูม และให้มีการฟื้นฟูรัฐธรรมนูญ แต่การเจรจาไม่ได้ผลอะไร

น.ส. นูแลนด์ กล่าวด้วยว่า เธอยังแสดงความกังวลเกี่ยวกับการอ้างว่าผู้นำรัฐประหารได้ขอให้กลุ่มทหารรับจ้างวากเนอร์ของรัสเซียขอความช่วยเหลือในการรักษาการควบคุมประเทศ

“คนที่ดำเนินการที่นี่เข้าใจเป็นอย่างดีถึงความเสี่ยงต่ออำนาจอธิปไตยของพวกเขาเมื่อวากเนอร์ได้รับเชิญ” เธอกล่าว

ไนเจอร์เป็นประเทศผู้ผลิตยูเรเนียมรายใหญ่ที่สุดเป็นลำดับเจ็ดของโลก โดยยูเรเนียมเป็นแร่โลหะกัมมันตรังสีที่ใช้ในการผลิตพลังงานนิวเคลียร์และรักษาโรคมะเร็ง อย่างไรก็ตาม ไนเจอร์ยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก และได้รับความช่วยเหลือด้านการพัฒนามูลค่าราว 2,000 ล้านดอลลาร์ทุกปี

ตัวเลขประเมินงบประมาณปี 2023 ของไนเจอร์แสดงให้เห็นว่า งบรวมของประเทศนี้ในปีงบประมาณปัจจุบันอยู่ที่ 5,530 ล้านดอลลาร์ โดยจะเป็นการสนับสนุนจากต่างประเทศและเงินกู้ราว 580 ล้านดอลลาร์ และอีก 1,650 ล้านดอลลาร์จะเป็นเงินมอบเพื่อดำเนินโครงการจากต่างชาติ เมื่อคิดโดยรวมแล้ว งบประมาณของไนเจอร์มูลค่ากว่า 2,200 ล้านดอลลาร์ หรือราว 40% ของงบทั้งหมดจะมาจากต่างประเทศ

กลุ่มประชาคมเศรษฐกิจรัฐแอฟริกาตะวันตก หรือ ECOWAS และสหภาพการเงินและเศรษฐกิจแอฟริกาตะวันตก หรือ WAME ออกมาตรการลงโทษขั้นรุนแรงต่อไนเจอร์ นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
มาตรการลงโทษมีทั้งการระงับการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ทั้งหมดกับไนเจอร์ ระงับการดำเนินการทางทรัพย์สินรัฐของไนเจอร์ในธนาคารกลางระดับภูมิภาค ระงับการดำเนินการทางทรัพย์สินของรัฐและของรัฐวิสาหกิจไนเจอร์ในธนาคารพาณิชย์ และระงับการช่วยเหลือทางการเงินทั้งหมดกับธนาคารเพื่อการพัฒนาในระดับภูมิภาค

หลังจากท่อส่ง Nord Stream 1, 2 ถูกทำลายไปแล้ว ยุโรปหวั่นไหวมากกับความมั่นคงของท่อทรานซ์ซาฮารา ที่ส่งก๊าซเกือบ20%ให้ยุโรป ถ้าหากไนเจอร์ปิดทางผ่านก๊าซ ยุโรปจะไม่มีก๊าซพอใช้

กีนี มาลี และเบอร์กินา ฟาโซได้เชิญทหารวากเนอร์ของรัสเซียให้เข้าไปช่วยรบ คาดว่าวากเนอร์จะช่วยไนเจอร์รบกับECOWAS ถ้าหากมีการส่งกองทัพเข้ามาจริงๆ

ECOWAS เข้าแทรกแซงมาก่อนหรือไม่?
ตัวอย่างที่โดดเด่นล่าสุดคือในปี 2560 เมื่อ ECOWAS ส่งกองกำลังทหารในแกมเบียเพื่อถอดถอนประธานาธิบดี Jammeh ซึ่งไม่ต้องการสละอำนาจหลังการเลือกตั้ง

การแสดงแสนยานุภาพที่ชายแดนทำให้ Jammeh ยอมลงจากตำแหน่ง ซึ่งนำไปสู่การลงมติอย่างรวดเร็ว เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดคำถามว่ากลยุทธ์ที่คล้ายกันจะประสบความสำเร็จในสถานการณ์ปัจจุบันในไนเจอร์หรือไม่

กลุ่มนี้ยังได้ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากไนจีเรียไปยังเขตสงคราม เช่น เซียร์ราลีโอน และไลบีเรีย

แต่นี่เป็นครั้งแรกที่ขู่ว่าจะแทรกแซงการทำรัฐประหาร ไม่มีการตอบโต้ดังกล่าวหลังการรัฐประหารในมาลีหรือบูร์กินาฟาโซที่อยู่ใกล้เคียง

ต้องจับตาดูสถานการณ์ไนเจอร์อย่างใกล้ชิดว่า จะนำไปสู่สงครามใหญ่ของแอฟริกาหรือไม่ โดยที่มีหลายประเทศประเทศแอฟริกาจะร่วมมือกันเพื่อขับไล่ลัทธิล่าอาณานิคมออกจากทวีปแอฟริกา แม้ว่าจะมีบางประเทศที่ยังยินยอมที่จะตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณานิคมตะวันตกสมัยใหม่ต่อไป

แต่การลุกฮือขึ้นมาปลดแอกอิทธิพลของฝรั่งเศส โดยไนเจอร์ เบอร์กิน่า ฟาโซ มาลี หรือกีนีผ่านการก่อการรัฐประหารถูกสื่อตะวันตกมองว่าเป็นการแย่งชิงอำนาจกันเองภายใน เพื่อเบี่ยงเบนประเด็น โดยอ้างประชาธิปไตย

ถ้าหากต้องสูญเสียอิทธิพลในแอฟริกา ไม่เพียงแต่ฝรั่งเศสเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบ แต่ยุโรปจะมีปัญหาในอนาคต เพราะว่าจะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยูเรเนียม น้ำมัน ก๊าซได้เหมือนเดิม ในขณะที่ต้องทำสงครามตัวแทนในยูเครนกับรัสเซีย

แน่นอนที่สุดที่ วิกฤติแอฟริกาตะวันตกเปิดโอกาสให้รัสเซีย และจีนเข้าไปมีอิทธิพลแทน ผ่านการช่วยเหลือทางทหาร การเงิน และเศรษฐกิจ โดยที่ความช่วยเหลือจะเป็นไปอย่างฉันท์มิตร ไม่ใช่แบบตะวันตกที่คอยขูดรีดอย่างเดียว
กำลังโหลดความคิดเห็น