xs
xsm
sm
md
lg

นักวิจัยคาดพบ ‘ร่องรอยเต่าว่ายน้ำ’ จากยุคไทรแอสซิกตอนปลาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:


(แฟ้มภาพเอเอฟพี - ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา)
คณะนักวิจัยนำโดยสิงลี่ต๋า จากมหาวิทยาลัยธรณีศาสตร์แห่งประเทศจีน ณ กรุงปักกิ่ง ได้ค้นพบร่องรอยที่อาจเป็นการว่ายน้ำของเต่าจากหมวดหินซวีเจียเหอของยุคไทรแอสซิก ตอนปลาย ในเมืองเผิงโจว มณฑลซื่อชวน (เสฉวน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน

รายงานระบุว่า ซากฟอสซิลร่องรอยนี้กว้าง 6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ปรากฏลายนิ้วเท้า 3 นิ้ว และรอยกรงเล็บยาวแหลมจนสุดปลายอย่างชัดเจน โดยคณะนักวิจัยได้ดำเนินการสแกนแบบสามมิติและเปรียบเทียบกับรอยเท้าของสัตว์เลื้อยคลานสายพันธุ์อื่นๆ

ผลการวิเคราะห์นำสู่การอนุมานได้ว่าสัณฐานวิทยาของร่องรอยมีความคล้ายคลึงกับรอยเท้าเต่ามากที่สุด และมีความเป็นไปได้สูงว่าผู้สร้างร่องรอยเหล่านี้เป็นตัวแทนกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ไม่ได้อยู่ชั้นบนสุดของห่วงโซ่อาหารยุคแรก

คณะนักวิจัยเสริมว่า เนื่องจากมีตัวอย่างอย่างจำกัด จึงไม่ได้แยกความเกี่ยวพันกับครอโคไดโลมอร์ฟ (Crocodylomorphs) ไดโนเสาร์กลุ่มเทโรพอด (Theropods) หรืออาร์โคซอร์ (Archosaurs) อื่นๆ อย่างสิ้นเชิง

การค้นพบร่องรอยเหล่านี้ช่วยเพิ่มชนิดพันธุ์สัตว์ยุคไทรแอสซิก ตอนปลาย ในเมืองเผิงโจว และบ่งชี้ว่าอาจมีซากฟอสซิลสัตว์มีกระดูกสันหลังรอการค้นพบอีกมากมาย รวมถึงมีคุณค่าต่อการศึกษาสภาพแวดล้อมยุคดึกดำบรรพ์ในท้องถิ่นอีกด้วย

อนึ่ง คณะนักวิจัยได้เผยแพร่ผลการวิจัยนี้ร่วมกับคณะนักวิจัยจากออสเตรเลียและสหรัฐฯ ในวารสารฮิสตอริคัล ไบโอโลจี (Historical Biology)

ที่มา/ภาพ สำนักข่าวซินหัว


กำลังโหลดความคิดเห็น