xs
xsm
sm
md
lg

ผงะ! ภาคตะวันออกพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่สูงสุดในประเทศไทย จากปัจจัยพื้นที่อุตสาหกรรม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



ศูนย์ข่าว​ศรี​ราชา ​- รองอธิบดีกรมการแพทย์ ระบุพื้นที่ภาคตะวันออกพบผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่พุ่งสูงสุดในประเทศไทย จากปัจจัยเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม เร่งนโยบายพัฒนาศักยภาพบุคลากรดูแลผู้ป่วย

วันนี้ (15 มี.ค.) นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิชาการด้านโรคมะเร็ง ครั้งที่ 13 ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมลองบีช การ์เด้นท์ โฮเต็ล แอนด์สปา พัทยา จ.ชลบุรี โดยมีนายแพทย์ปิยวัฒน์ เลาวหุตานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี นายแพทย์​อภิรัต กตัญญุตานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชลบุรี และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม

จุดประสงค์​สำคัญ​เพื่อพัฒนาวิชาการด้านโรคมะเร็งแก่บุคลากรทางการแพทย์ อีกทั้งเพื่อพัฒนาศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งในแต่ละระดับให้ได้มาตรฐาน สนับสนุนงานวิชาการด้านโรคมะเร็ง และเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ของโรงพยาบาลภูมิภาคแต่ละแห่งในเขตสุขภาพที่ 6 ซึ่งแบ่งหลักสูตรการประชุมเป็น 3 หลักสูตร คือ 

1.หลักสูตรการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยมะเร็ง 2.หลักสูตรทการพัฒนาศักยภาพการตรวจวินิจฉัยด้านเซลล์วิทยาในการอ่านสไลด์จากการเจาะดูดเซลล์ด้วยเข็มเล็ก (FNA) และเซลล์วิทยานรีเวช และ 3.หลักสูตรการพัฒนาเครือข่ายทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง โดยมีวิทยากรชั้นนำจากหลายสถาบันร่วมบรรยาย


รองอธิบดีกรมการแพทย์แพทย์ เผยว่าปัจจุบันโรคมะเร็งถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของไทย ซึ่งจากรายงานอุบัติการณ์ด้านโรคมะเร็ง พบว่า คนไทยป่วยด้วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่สูงถึงวันละ 381 ราย หรือ 139,206 รายต่อปี และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 ราย หรือ 84,073 รายต่อปี

ขณะที่พื้นที่ภาคตะวันออก พบอุบัติการโรคมะเร็งในชาย และหญิงสูงสุดของประเทศ โดยมะเร็งที่พบมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มะเร็งเต้านม รวมถึงมะเร็งปากมดลูก

ทั้งนี้ กรมการแพทย์ โดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และโรงพยาบาลมะเร็งในส่วนภูมิภาค ทั้ง 7 แห่ง มุ่งที่จะพัฒนาการดำเนินงานทุกด้านเพื่อให้ประชาชนได้รับบริการทางการแพทย์ที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาค ภายใต้ภารกิจการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่สมคุณค่า

ตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการในทุกภาคส่วน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาทางการแพทย์ของประเทศสู่มาตรฐานสากล


รวมทั้งพัฒนารูปแบบระบบบริการ Service plan สาขาต่างๆ และสาขาโรคมะเร็งร่วมกับหน่วยบริการในเขตสุขภาพที่ 6 รวมทั้งเขตสุขภาพอื่นๆ ทั่วประเทศ ซึ่งการดำเนินงานควบคุมป้องกันและดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งควรต้องมีบุคลากรสาธารณสุขที่มีความรู้จากสหสาขาวิชาชีพ ทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายให้ครอบคลุม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง




กำลังโหลดความคิดเห็น