xs
xsm
sm
md
lg

กรมอุทยานฯ แจงป่าแหว่งในเขตอุทยานสิรินาถ เคยจับแล้ว DSI รับเป็นคดีพิเศษ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กรมอุทยานแห่งชาติฯ แจงพื้นที่ป่าแหว่งในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ จ.ภูเก็ต เจ้าหน้าที่ตรวจยึดไว้แล้ว ตั้งแต่ ปี 64 ขณะนี้ DSI รับเป็นคดีพิเศษแล้ว

วันนี้ (13 ม.ค.) นายนรินทร์ ประทวนชัย รองอธิบดี โฆษกกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า ตามที่เพจดังได้มีการเผยภาพป่าแหว่งเป็นวงกว้าง ในพื้นที่อุทยาน แห่งชาติสิรินาถ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต โดยระบุข้อความ “ป่าในอุทยานแหว่งไปไหน จ.ภูเก็ต เงียบกริ๊บเลย ไม่ตอบไม่เป็นไร อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต” ว่า เรื่องนี้กรมอุทยานแห่งชาติฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจ โดยได้สั่งการให้อุทยานแห่งชาติสิรินาถ เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและชี้แจงประเด็นดังกล่าวแล้ว

จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง นายสรศักดิ์ รณะนันทน์ หัวอุทยานแห่งชาติสิรินาถ ได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรวจยึดพื้นที่บริเวณหมู่ที่ 1 ตาบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 15-3-71 ไร่ ซึ่งพื้นที่อยู่ในทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์แหลมพิศ-ปากบาง และในเขตอุทยานแห่งชาติสิรินาถ

โดยจับกุมผู้ต้องหารวม 3 คน ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 และ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และดำเนินการแจ้งความกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สถานีตารวจภูธรสาคู จังหวัดภูเก็ต ตามบันทึกประจำวันข้อ 8 เวลา 23.00 น. ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 คดีอาญาที่ 61/2564 และคดีดังกล่าวพนักงานอัยการจังหวัดมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง โดยมีคำวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาทั้ง 3 เข้าใจว่าได้ครอบครองที่ดินดังกล่าวมาโดยชอบ ด้วยกฎหมายและมีอำนาจอยู่ และทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวต่อไปได้ คดีนี้ผู้ต้องหาทั้ง 3 ให้การปฏิเสธ และมีพยาน เอกสารประกอบจนรับฟังได้ว่า ไม่มีเจตนาบุกรุกพื้นที่ป่าและพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ คดีมีพยานหลักฐานไม่พอฟ้อง

สพหรับความผิดฐานร่วมกันกระทำการหรืองดเว้นกระทำการไม่ว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และก่อความเสียหายแก่อุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 จะต้องรับผิดชอบในค่าเสียหายแก่รัฐ ซึ่งไม่ใช่โทษทางอาญาและไม่ใช่อัตราโทษปรับ ข้อกล่าวหาไม่มีบทกำหนดโทษทางอาญาไว้ และไม่มีมูลความรับผิดทางอาญาแต่อย่างใด จึงไม่อาจมีคาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องตามบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวได้ และในการดำเนินคดีต่อผู้ต้องหาทั้ง 3 ทางแพ่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มอบหมายให้กองนิติการพิจารณาดาเนินการเพื่อจะฟ้องคดีแพ่งต่อผู้กระทำการละเมิดต่อไป

สาหรับกรณีการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิในที่ดิน (ส.ค.1) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เห็นว่าแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เลขที่ 283 ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ดินที่ครอบครอง พื้นที่มีสภาพเป็นป่าที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ จึงได้มีหนังสือ ฉบับลงวันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 เรียนผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ขอให้จังหวัดภูเก็ตแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพิสูจน์ตำแหน่งที่ดินของแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) เลขที่ 283 หมู่ที่ 1 ตาบลสาคู อาเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จากการตรวจสอบแปลงที่ดินบุกรุกดังกล่าว แปลงที่ดินทับซ้อนอยู่ในเขตที่ดินสาธารณประโยชน์สำหรับเลี้ยงสัตว์ ประกาศหวงห้าม เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2474 มีสภาพแปลงที่ดินเป็นป่าทั้งแปลงอยู่ในเขตอุทยาน แห่งชาติสิรินาถ จึงขอให้พิจารณาดาเนินการจำหน่าย ส.ค.1 เลขที่ 283 หมู่ที่ 1 ตาบลสาคู อาเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ออกจากทะเบียนการครอบครองที่ดินตามระเบียบราชการ

แต่ต่อมาจังหวัดภูเก็ตแจ้งผลการตรวจสอบว่า หลักฐาน ส.ค.1 ไม่ตรงกับตำแหน่งที่ดินที่ครอบครอง มิใช่เป็นการแจ้งการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และยังไม่มีการพิสูจน์ตำแหน่งที่ดินตามหลักฐาน ส.ค.1 แต่อย่างใด จึงไม่สามารถดำเนินการจำหน่าย ส.ค.1 เลขที่ 283 หมู่ที่ 1 ตาบลสาคู อาเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ตามระเบียบกรมที่ดินได้

โฆษกกรมอุทยานแห่งชาติฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มิได้ปล่อยปละละเลยเรื่องดังกล่าว โดยได้พยายามที่จะรักษาผืนป่าและทวงคืนให้กลับมาเป็นของรัฐ โดยได้ขอความอนุเคราะห์กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) พิจารณาสอบสวน ตำแหน่งอาณาเขตที่ข้างเคียง เนื้อที่อยู่ในพื้นที่บริเวณใด และมีการนำ ส.ค.1 ฉบับดังกล่าวไปออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วหรือไม่ อย่างไร

ซึ่งกรมสอบสวนคดีพิเศษได้มอบหมายให้กองคดีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
กำลังโหลดความคิดเห็น