xs
xsm
sm
md
lg

“หมอยง” ไขข้อเท็จจริง “เดลตาครอน” ชี้สายพันธุ์นี้แทบไม่มีในไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



"ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ไขข้อเท็จจริงการเปลี่นแปลงสายพันธุ์ “เดลตาครอน” ระบุการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ทำให้ระบบภูมิต้านทานเปลี่ยนแปลง

วันนี้ (1 ธ.ค.) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ข้อความในประเด็น ไขข้อเท็จจริง โควิด-19 สายพันธุ์ “เดลตาครอน” โดยได้ระบุข้อความว่า

“โควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ไขข้อเท็จจริง เดลตาครอน”

การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัส เกิดขึ้นได้จากการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อย ด้วยการเปลี่ยนพันธุกรรม และทำให้สร้างกรดอะมิโนเปลี่ยนแปลงไป อย่างที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์จากอัลฟา เบตา เดลตา โอมิครอน เปลี่ยนแปลงบนยีนของหนามแหลม spike ทำให้ระบบภูมิต้านทานเปลี่ยนแปลง โอมิครอนยังเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยไปเป็นลูกหลาน BA.1 BA.2…BA.5.. เปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย ก็ยังเป็นโอมิครอนอยู่ สายพันธุ์โอมิครอน อยู่นานมากอยู่มา 1 ปีแล้ว การแยกสายพันธุ์ ดังแสดงในรูป ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดมาโดยตลอดตั้งแต่เริ่มของสายพันธุ์อู่ฮั่นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อความอยู่รอดของไวรัส ที่ผ่านมาตัอยู่วที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว ความรุนแรงน้อย ก็จะรอด และเกิดสายพันธุ์ใหม่ เรื่อยมา อัตราการเสียชีวิตก็ลดลงมาโดยตลอด

การเปลี่ยนแปลงชนิดที่ 2 เป็นการแลกชิ้นส่วนต่างสายพันธุ์ หรือผสมส่วน ที่เรียกว่า recombination เราพบได้เห็นในไวรัสหลายชนิดเช่น ไวรัสที่ทําให้เกิดโรคมือเท้าปาก ไวรัสท้องเสีย norovirus เกิดได้จากการที่มีไวรัส 2 สายพันธุ์ติดเชื้อในผู้ป่วยคนคนเดียวกัน แล้วไปแลกชิ้นส่วนกัน เกิดเป็นลูกผสม หัวเป็น สายพันธุ์หนึ่ง หางเป็นสายพันธุ์หนึ่ง

ดังนั้น เดลตาครอน จะเกิดได้ จะต้องมีผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า ร่วมกับ โอมิครอน จึงจะเกิดลูกผสม เดลตาครอน แต่ขณะนี้ แทบจะไม่พบสายพันธุ์เดลต้า จะเกิดลูกผสม เดลตาครอนได้อย่างไร เมื่อไม่มีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ คิดแบบง่ายๆ

มีการพูดถึงเดลตาครอน จะเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กๆ ของสายพันธุ์เดลตาที่มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนคล้ายคลึงกับสายพันธุ์เดลตา ในสายพันธุ์โอมิครอน เชื่อว่าไม่ได้เป็นการแลกชิ้นส่วนกัน และตั้งชื่อเป็น XBC และทางองค์การอนามัยโลกก็ไม่ไ่ด้มีการกำหนดชื่อใหม่หรือสายพันธุ์ใหม่ว่าเป็น เดลตาครอน หรือให้ความสำคัญแต่อย่างใด ตอนนี้ก็ยังมีแต่อัลฟา เดลตา โอมิครอน และมีสายพันธุ์ย่อยที่เราคุ้นหูกัน

ใครจะเรียก เดลตาครอน ขณะนี้ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไร การรายงานเข้าไปในธนาคารรหัสพันธุกรรม GISAID สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้เป็นสายพันธุ์เด่นอะไรเลย และไม่มีความสำคัญในขณะนี้ไม่ว่าในอัตราการแพร่กระจายที่พบ หรือความรุนแรงที่พบ

สายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลกขณะนี้เป็นสายพันธุ์ย่อย โอมิครอน BA.2.75 และ BQ.1.1 บ้านเราขณะนี้เป็น BA.2.75 และก็คงจะตามมาด้วย BQ.1.1 ในอนาคตอันใกล้ ดังแสดงในรูปของ GISAID
กำลังโหลดความคิดเห็น