xs
xsm
sm
md
lg

เสาชิงช้า โบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองกรุงเทพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



หนึ่งในโบราณสถานสำคัญคู่เมืองกรุงเทพมหานคร และนับเป็นหนึ่งในภาพสัญลักษณ์ยอดนิยมสื่อถึงเมืองท่องเที่ยวระดับโลกแห่งนี้ คือ “เสาชิงช้า” เสาไม้สักสีแดงชาดที่โดดเด่น มีความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ และแฝงไปด้วยเรื่องราวความเชื่อ



เริ่มต้นที่ ย่านเสาชิงช้า ถือเป็น “สะดือเมือง” หรือจุดศูนย์กลางของพระนครที่ถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สำหรับสะดือเมืองนั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือรัชกาลที่ ๑ หลังจากที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายขอบเขตของพระนครออกไปทางตะวันออก และมีการขุดคลองรอบกรุงขึ้น

พระองค์ทรงกำหนดจุดศูนย์กลางของพระนครหรือสะดือเมือง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ตั้งของเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ รวมทั้งเสาชิงช้าด้วย

“เสาชิงช้า” จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของกรุงเทพฯ มาจนทุกวันนี้



“เสาชิงช้า” สีแดง ซึ่งเป็นดังหนึ่งในสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ มาเนิ่นนาน เสาชิงช้าเป็นเสาไม้ขนาดใหญ่ทาสีแดง ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ มีความสูง 21.15 เมตร มีเสาไม้แกนกลางคู่ และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย

ทั้งหมดทาสีแดงชาด ใช้เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธี”ตรียัมปวาย ตรีปวาย”ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเมื่อครั้งอดีต ซึ่งเป็นการต้อนรับพระอิศวรเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดู

ในอดีตนั้นมีการทำพิธีโล้ชิงช้าที่เสาชิงช้ากันทุกปี แต่เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ก็ได้เลิกไปเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพราะประเพณีโล้ชิงช้านี้มีค่าใช้จ่ายสูง เมื่องดไปในรัชกาลที่ ๗ แล้วก็ไม่เคยมีการโล้ชิงช้าที่เสาชิงช้าอีกเลย แต่ยังคงมีพิธีตรียัมปวายซึ่งทำพิธีโล้ชิงช้าขนาดเล็กในเทวสถานตามโบราณราชประเพณี

เสาชิงช้าที่ได้เห็นในปัจจุบันนั้นเป็นเสาต้นใหม่ ซึ่งได้มีการจัดพิธีสมโภขน์เสาชิงช้าครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 11-13 กันยายน 2550 โดยใช้ไม้สักทองมาจากเมืองแพร่ ซึ่ง กรุงเทพมหานคร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับจังหวัดแพร่ ในฐานะที่เป็นแหล่งให้ต้นสักมาบูรณะเป็นเสาชิงช้าคู่ใหม่อีกด้วย

ทั้งนี้ กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ไว้เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2492


ทั้งหมดทาสีแดงชาด ใช้เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธี”ตรียัมปวาย ตรีปวาย”ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเมื่อครั้งอดีต ซึ่งเป็นการต้อนรับพระอิศวรเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์หรือศาสนาฮินดู

ในอดีตนั้นมีการทำพิธีโล้ชิงช้าที่เสาชิงช้ากันทุกปี แต่เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ ก็ได้เลิกไปเนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ เพราะประเพณีโล้ชิงช้านี้มีค่าใช้จ่ายสูง เมื่องดไปในรัชกาลที่ ๗ แล้วก็ไม่เคยมีการโล้ชิงช้าที่เสาชิงช้าอีกเลย แต่ยังคงมีพิธีตรียัมปวายซึ่งทำพิธีโล้ชิงช้าขนาดเล็กในเทวสถานตามโบราณราชประเพณี


เสาชิงช้าที่ได้เห็นในปัจจุบันนั้นเป็นเสาต้นใหม่ ซึ่งได้มีการจัดพิธีสมโภขน์เสาชิงช้าครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 11-13 กันยายน 2550 โดยใช้ไม้สักทองมาจากเมืองแพร่ ซึ่ง กรุงเทพมหานคร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงเป็นบ้านพี่เมืองน้องกับจังหวัดแพร่ ในฐานะที่เป็นแหล่งให้ต้นสักมาบูรณะเป็นเสาชิงช้าคู่ใหม่อีกด้วย


ทั้งนี้ กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ไว้เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2492


#########################################

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


กำลังโหลดความคิดเห็น