xs
xsm
sm
md
lg

5 เรื่องน่ารู้ “พิพิธภัณฑ์ครุฑ” แห่งแรก และแห่งเดียวของอาเซียน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:


รู้จักพิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งแรกและแห่งเดียวในอาเซียน
เปิดแล้ว! “พิพิธภัณฑ์ครุฑ” สถานที่รวบรวมครุฑจากทุกภาคของไทยมาจัดแสดงไว้ในที่เดียว และเปิดให้นักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไปเข้าชมเมื่อวันที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา ครั้งนี้จึงรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มาให้ทุกคนได้รู้จักกัน


รู้จักพิพิธภัณฑ์ครุฑแห่งแรก และแห่งเดียวของอาเซียน
“พิพิธภัณฑ์ครุฑ” โดยธนาคารทหารไทยธนชาต เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งเดียวในประเทศไทยและในอาเซียน ที่รวบรวมครุฑที่มี เอกลักษณ์เฉพาะองค์จากทุกภาคของไทย โดยอัญเชิญตราที่ประดิษฐาน ณ ธนาคารสาขาต่าง ๆ มากกว่า 150 องค์ มาได้ ด้วยกัน โดดเด่นด้วยองค์ครู ไม้ที่แกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม สะท้อนถึงความประณีตของศิลปิน พร้อมเรียนรู้เรื่องราว "พญาคาร" สัตว์หิมพานต์ สัญลักษณ์แห่งความกตัญญู ความซื่อสัตย์ และความดีงาม

บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ครุฑ
กว่าจะมาเป็นพิพิธภัณฑ์ครุฑ
“พิพิธภัณฑ์ครุฑ” โดยธนาคารทหารไทยธนชาต ก่อตั้งขึ้นโดยเริ่มจากการที่ธนาคารธนชาติได้รวมกิจการกับธนาคารนคร หลวงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2554 เธนาคารนครหลวงไทยนั้น เป็นธนาคารที่มีการดำเนินกิจการมาก ว่า 70 ปี และได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานเครื่องหมายครุฑพ่าห์หรือตราครุฑพระราชทานมาติดตั้งอยู่ที่ สำนักงานใหญ่และสาขาต่าง ๆ ตั้งแต่ปี 2484 ซึ่งภายหลังการรวมกิจการกับธนาคารธนชาต

ผจญภัยกับตำนานพญาครุฑ
ในปี 2554 ธนาคารธนชาตได้ ตระหนักถึงคุณค่าและเล็งเห็นความสำคัญขององค์ครุฑพระราชทานที่มีความผูกพันและความศรัทยากับคนไทย รวมทั้งยัง เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระมหากษัตริย์ของไทย จึงได้มีการอัญเชิญองค์ครุฑจากสำนักงานและสาขาต่าง ๆ มา ประดิษฐานยังศูนย์ฝึกอบรมบางปู เขตเทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ และก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ครุฑขึ้น เพื่อร้อย เรียงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับองค์ครุฑในรูปแบบสื่อผสมผสาน (Multimedia) โดยยึดความเข้าใจพื้นฐานของคนไทยที่มี อองค์ครุฑ จากความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเป็นหัวใจหลัก ในพิพิธภัณฑ์ได้มีการออกแบบและสร้างสรรค์สถานที่เพื่อให้ ผู้เข้าชมได้ทราบถึงความเป็นมาของครุฑตามตำนาน ทั้งในเชิงพุทธและพราหมณ์ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ ระหว่างองค์ครุฑกับสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

จากนั้นในปี 2554 ทีเอ็มบี ได้รวมกิจการกับธนาคารธนชาต จนเป็นธนาคารแห่งใหม่ภายใต้ชื่อว่า ธนาคารทหารไทยธน ชาต จํากัด (มหาชน) หรือ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ที่ทีบี (ITD) ซึ่ง ทีเอ็มบีธนชาต ยังคงสานต่อคุณค่าของพิพิธภัณฑ์ โดยได้ปรับปรุงบูรณะพิพิธภัณฑ์ พร้อมเปิดให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ครุฑเป็นครั้งแรก เพื่อส่งเสริมให้ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์จุดประกายแหล่งเรียนรู้ ต่อยอดการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างยั่งยืน

ครุฑที่นำมาจัดแสดง
ตำนานพญาครุฑ
ตำนานพญาครุฑมีปรากฏในคัมภีร์ปุราณะของอินเดียโบราณว่าพระทักษะประชาบดี เทวะฤาษีพระผู้สร้างได้ยกลูกสาว 13 คนให้แก่ฤาษีกัศยปะ ในจำนวนนี้มีนางกัทรุ และนางวินตาเป็นคนโปรดของฤาษีกัศยปะ และมักมีเรื่องไม่ลงรอยกันอยู่เสมอ อยู่มาวันหนึ่งฤาษีกัศยปะมีประสงค์ประทานพรวิเศษแก่ภรรยาทั้งสองคนละข้อ นางกัทรุขอโอรสที่มีอิทธิฤทธิ์สูงส่ง 1,000 องค์ นางวินตาได้ฟังดังนั้นจึงทูลขอโอรส 2 พระองค์ที่มีอิทธิฤทธิ์สูงส่งกว่า หลังจากกาลเวลาล่วงเลยไป 500 ปี นางกัทรุให้กำเนิดโอรส 1,000 องค์ นามว่า นาค ขณะที่นางวินตาให้กำเนิดไข่ออกมา 2 ใบ นางวินตาเห็นโอรสของนางกัทรุเกิดร้อนใจจึงทุบไข่ฟองหนึ่งแตก โอรสที่เกิดมาจึงมีเพียงครึ่งตัว ได้นามว่า อนอุรุ ซึ่งต่อมากลายเป็นพระอรุณ พาหนะของพระอาทิตย์ พระอรุณโกรธที่มารดาทำให้ตนเกิดมาไม่สมบูรณ์จึงสาบให้มารดาตกเป็นทาสรับใช้นางกัทรุเป็นเวลา 500 ปี แต่พระอรุณเห็นว่าทรงเป็นผู้ให้กำเนิดจึงให้พรว่า อีก 500 ปี จะมีผู้มาช่วยให้เป็นอิสระ

ครุฑที่มีขนาดเล็กที่สุดในพิพิธภัณฑ์
วันหนึ่งนางกัทรุ และนางวินตาได้พนันสีขนของม้าอุจไฉศรพ พาหนะของพระอินทร์ โดยตกลงกันว่าหากใครแพ้ต้องเป็นทาสรับใช้ผู้ชนะ นางกัทรุทายว่าสีดำ ส่วนนางวินตาทายว่าสีขาว นางกัทรุพบว่าแท้จริงแล้วขนของม้าเป็นสีขาว จึงขอร้องให้พญานาคช่วย พญานาคทั้ง 1,000 องค์ จึงเข้าไปแทรกอยู่ที่ขนของม้าอุจไฉศรพพ จนดูเหมือนมีสีดำ นางวินตาจึงกลายเป็นทาสรับใช้นางกัทรุนับตั้งแต่นั้น

อีก 500 ปีผ่านไปไข่ฟองที่ 2 แตกออกบังเกิดโอรสรูปร่างใหญ่โต รัศมีปลายสว่างไสว มีศีรษะ มีจงอยปาก และปีกดั่งนก มีร่างกายแข็งขาดั่งมนุษย์ หน้าขาว ปีกแดง ลำตัวเป็นสีทองขยายตัวออกจรดฟ้า จนเหล่าเทวดาแตกตื่นคิดว่าเป็นพระอัคนีพากันเคารพบูชาได้ชื่อว่า เวนไตย แปลว่า เกิดแต่นางวินตา

เรียนรู้เรื่องราวของครุฑ
พญาเวนไตยเห็นมารดารับใช้นางกัทรุ ได้เกิดความสงสัยจึงไต่ถามถึงสาเหตุและหวังช่วยมารดาให้พ้นทุกข์ พญานาคบอกให้พญาเวนไตยไปนำน้ำอมฤตจากพระจันทร์มาให้ เพื่อความเป็นอมตะ ด้วยความรักมารดาพญาเวนไตยจึงออกเดินทางไปเอาน้ำอมฤต ระหว่างทางเจออุปสรรคต่างๆ ทั้งการหอบกิ่งไม้ที่เหล่าพราหมณ์ประชุมอยู่ให้ปลอดภัย จนได้รับสรรเสริญว่าเป็นผู้แบกรับภาระอันหนักสมควรได้นาม ครุฑ และได้ต่อสู้กับเทวดาที่มาปกป้องน้ำอมฤต ไม่มีผู้ใดรับมือกับพญาครุฑได้ ร้อนถึงพระอินทร์ลงมาต่อสู้กับพญาครุฑ แต่ไม่สามารถเอาชนะได้ ระหว่างต่อสู้ขนอันงดงามได้ร่วงหล่นลงเส้นหนึ่งเรียกกันว่า สุบรรณ และได้กลายเป็นนามหนึ่งของพญาครุฑ พระอินทร์ไปถามถึงสาเหตุที่ขโมยน้ำอมฤต พญาครุฑได้ตอบไปตามความจริงและบอกให้ชิงกลับมาหลังจากที่ตนให้น้ำอมฤตแก่เหล่าพญานาคไปแล้ว เมื่อเรื่องร่วงรู้ถึงพระนารายณ์ จึงสรรเสริญที่พญาครุฑไม่ดื่มน้ำอมฤต และได้ประทานพรให้ข้อหนึ่งตามแต่พญาครุฑต้องการคือ “ขออยู่สูงกว่าพระองค์ ขอเป็นผู้ไม่มีเวลาตาย ไม่มีเวลาเจ็บ แม้ไม่ได้กินน้ำอมฤต” พญาครุฑได้ประทานพรตามที่พระนารายณ์ขอคือ “ขอให้ท่านเป็นพาหนะของข้า ร่วมแบกรับภารกิจยิ่งใหญ่ ขอให้ท่านสถิตอยู่ที่ยอดเสาธงของข้า เพื่อที่ท่านจะได้อยู่สูงกว่าข้า”


หลังจากนั้นพญาครุฑบินไปยังที่สถิตของเหล่านาค เมื่อพญาครุฑวางน้ำอมฤตบนหญ้าคาแล้ว พญานาคก็ยินยอมคืนอิสรภาพแก่นางวิญตา พากันอาบน้ำชำระกายด้วยความดีใจ ที่ได้ความเป็นอมตะมาครอบครอง พระอินทร์จึงช่วยเอาน้ำอมฤตไปเหล่าพญานาค เมื่อกลับมาไม่เห็นน้ำอมฤตจึงพยายามสอดส่องหาจนพบหยดน้ำบนหญ้าคา คิดว่าเป็นน้ำอมฤต พากันดีใจเลียหญ้าคาจนบาดลิ้น และแยกออกเป็นสองแฉก พญาครุฑและพญานาคจึงยังคงเป็นศัตรูกันนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ห้องที่รวบรวมองค์พญาครุฑจากทั่วทุกภาค
ครุฑกับสถาบันพระมหากษัตริย์
ตามความเชื่อนั้นกษัตริย์ทุกพระองค์เปรียบเป็นอวตารของพระนารายณ์ ครุฑ เป็นสัญลักษณ์แทนองค์กษัตริย์จึงนำมาใช้เป็นตราแผ่นดินหรือเรียกว่า “ตราครุฑพ่าห์” เริ่มใช้นับตั้งแต่ สมัยอยุธยา สมัยกรุง ธนบุรี จวบจนสมัยรัตนโกสินทร์ และในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพระกรุณาโปรด เกล้าฯ ให้ใช้ครุฑเป็นเครื่องหมายประดับบนธงเรียกว่า ธงมหาราช ซึ่งจะถูกชักขึ้น ณ สถานที่ที่ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับ และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ตราอาร์ม แทนตราแผ่นดินในระยะหนึ่ง แต่ต่อมาทรงดำริว่าตราอาร์มมีความเป็นตะวันตกมากไป จึงทรงพระกรุณาเปลี่ยนมาใช้พระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์อีกครั้งหนึ่ง และมีพระประสงค์ให้ใช้พระครุฑพ่าห์นี้เป็นตราแผ่นดินสืบมาจวบจนปัจจุบัน

ครุฑจากสาขาเยาวราช รูปร่างแปลกตา

บอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง
ไฮไลต์ของพิพิธภัณฑ์ครุฑ
ภายในพิพิธภัณฑ์ครุฑ จัดแสดง 6 โซนนิทรรศการ ได้แก่
-โถงต้อนรับ เริ่มต้นผจญภัยกับตำนานพญาครุฑ ด้วยการบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของพญาครุฑ ผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนจริง หรือ AR
-ครุฑพิมาน เรียนรู้กำเนิดโลกและจักรวาล ท่องไปในดินแดนหิมพานต์ และที่อยู่ของพญาครุฑ
-นครนาคราช ถิ่นที่อยู่ของพญานาค พร้อมชมเรื่องราวของพี่น้องต่างมารดา
-อมตะเจ้าเวหา เรื่องราวความเพียรพยายามของพญาครุฑผ่านแอนิเมชัน แสงสีตระการตา
-สุบรรณแห่งองค์ราชัน ตามรอย “ตราพระครุฑพ่าห์” ซึ่งเป็นตัวแทนของพระมหากษัตริย์ที่ยังคงปรากฎเคียงข้างพระองค์เสมอ
-ห้องจัดแสดงครุฑ ห้องที่รวบรวมองค์พญาครุฑจากทั่วทุกภาคของประเทศไทย ผ่านตราตั้งห้างพระราชทาน และสัมผัสมนต์เสน่ห์คุณค่าเหนือกาลเวลา

ครุฑจากสาขาประเวศ

ลักษณะของครุฑ
พิพิธภัณฑ์ครุฑ เปิดให้เข้าชมทุกวันศุกร์และวันเสาร์ วันละ 3 รอบ โดยมีผู้บรรยายนำชมฟรี วันละ 3 รอบ 10.00 น. / 13.00 น. และ 15.00 น. สอบถามโทร. 09-8882-3900 (วันอังคาร-เสาร์ ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.) ทั้งนี้ ได้จัดรถตู้บริการรับ-ส่งจากสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอส สถานีเคหะสมุทรปราการ ถึง พิพิธภัณฑ์ครุฑ ผู้ที่สนใจสามารถแจ้งความประสงค์ผ่านระบบการจองล่วงหน้าผ่าน QR Code สามารถติดตามเรื่องราวประวัติวามเป็นมาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ครุฑ โดยทีทีบี ผ่าน E-BOOK ได้ที่ www.ttbfoundation.org/th/garudamuseum/ebook

สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline
กำลังโหลดความคิดเห็น