xs
xsm
sm
md
lg

ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ภัยเงียบที่ต้องระวัง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



หากการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ราบเรียบไปอย่างชิลๆ บางครั้งก็อาจจะคิดไปว่าตัวเองสุขภาพดีแล้ว ไม่มีปัญหาอะไร แต่รู้หรือไม่ว่า สถานะแบบนี้แหละ อาจจะเป็นภัยเงียบให้กับตนเองก็ได้ เพราะช่วงภัยนี้แหละ อาจจะส่งผลต่อการเป็น ‘ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน’ ก็เป็นได้ ฉะนั้น เรามาทำความรู้จักภัยเงียบนี้กัน


อะไรคือ “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน”

สำหรับภาวะดังกล่าวนี้ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดของกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย หลอดเลือดสมองตีบตัน และภาวะลิ่มเลือดอุดตันของหลอดเลือดดำ ซึ่งภาวะนี้ เกิดจากเลือดมีการจับตัวเป็นก้อนภายในเส้นเลือด จนทำให้ไปขัดขวาดการไหลเวียนของเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงอวัยวะ จนเกิดการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ จนทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ถึงขั้นอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันนั้น แบ่งออกได้ 3 สาเหตุ คือ

1.ผนังหลอดเลือดผิดปกติ

เกิดจากบาดแผลถูกของมีคมบาด หรือ มาจากการรักษาผ่าตัดบางอย่าง จนทำให้หลอดเลือดมีความเสียหาย รวมถึงผนังลอดเลือด มีคราบไขมันอุดตัน

2.การไหลเวียนของเลือดมีความผิดปกติ

จากภาวะดังกล่าวนี้ จะทำให้เสี่ยงเกิดตะกอนได้ง่าย จนทำให้เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวอาจจะเกิดกระจุกอุดตันได้

3.การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ

เกิดจากสารห้ามการแข็งตัวของเลือกบกพร่อง เช่น ร่างกายขาดโปรตีนที่ทำหน้าที่ยับยั้งการแข็งตัวของเลือด จึงทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดคันได้ง่าย


กลุ่มเสี่ยง

สำหรับความเสี่ยงในการเกิดภาวะดังกล่าวนี้นั้น จะแปรผันขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น เพราะถ้ามีอายุเพิ่มขึ้น ก็อาจจะมีโรคประจขำตัวที่มากขึ้น ผนังหลอดเลือดก็มีความเสื่อมมากกว่าคนอายุน้อย ร่างกายไม่ค่อยขยับได้ดั่งใจเหมือนคนหนุ่มสาว ทำให้เกิดสภาวะที่ว่านี้

ขณะเดียวกัน ผู้ที่มีพันธุกรรมก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน กล่าวคือ ถ้ามีพ่อหรือแม่ที่เป็นภาวะการขาดโปรตีนที่เป็นสารห้ามการแข็งตัวของเลือดนี้ ก็สามารถที่จะเป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันได้ด้วย

นอกจากนี้ หากมีประวัติในการผ่าตัด การใช้สารเสพติด ยาฮอร์โมนเอสโตรเจน ยาคุมกำเนิด และกลุ่มผู้ป้วยมะเร็ง ก็มีความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ได้ง่ายกว่าคนปกติทั่วไปกว่า


ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

-ไม่ค่อยได้ทำการเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เคยเข้ารับการผ่าตัดต้องนอนนิ่งเป็นเวลานาน การนอนโรงพยาบาลนานๆ
-ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ที่มีโรคประจำตัว ผนังหลอดเลือดจะยิ่งมีความเสื่อมมากกว่าคนอายุน้อย
-การถ่ายทอดทางพันธุกรรม
-โรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งตับอ่อน มะเร็งปอด มะเร็งเม็ดเลือด
-มีโรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูง หรือคอเลสเตอรอลสูง โรคอักเสบเรื้อรัง
-รับประทานยาบางชนิด เช่น คุมกำเนิด
-การตั้งครรภ์ โดยพบว่าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ทุกๆ 1 ใน 1,000 คนที่กำลังตั้งครรภ์จะเกิดลิ่มเลือด
-ติดเชื้อโควิด-19
-การสูบบุหรี่


ความอันตรายของ ‘ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน’

1.อาการชา

เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่เลือดไหลเวียนได้ช้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดตรงบริเวณหลอดเลือดดำ เพราะหลอดเลือดแดงหัวใจจะบีบตัวส่งเลือดแรงตลอดเวลา จึงทำให้เลือดจึงมักไม่ค่อยหยุดนิ่ง ผิดกับหลอดเลือดดำที่มักมีการหยุดนิ่งมากกว่า แล้วพอเกิดตรงบริเวณขาที่มีการไหลเวียนช้าด้วยแล้ว จึงทำให้มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่ายกว่า

2.ปอด

มักจะเกิดในบริเวณหลอดเลือดแดง ซึ่งนำเลือดที่ไม่มีออกซิเจนจากหัวใจห้องล่างขวาเข้าสู่ปอด

แม้ว่าการที่ลิ่มเลือดอุดตันบริเวณขานั้น อาจจะไม่ได้รุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ก็ตามที แต่หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รักษา 3 เดือน ก็อาจจะลุกลามไปที่ปอดและทำให้เสียชีวิตได้ ซึ่งหากเกิดการมีลิ่มเลือดอุดตัน ควรทำการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ น่าจะดีที่สุด


ป้องกันตัวอย่างไร ให้ไกล “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน”

-หลีกเลี่ยงการนั่งท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน และควรลุกเดินเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายอยู่เสมอ
-ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย เพราะภาวะขาดน้ำอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้
-รับประทานผักและผลไม้ รวมถึงอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 และวิตามินอี
-ควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์มาตรฐาน
-หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์


อาหารที่ช่วยลด “ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน”

-ขิง
-พริกไทยดำ
-กระเทียม
-ถั่วหลากชนิด
-มะเชือเทศ

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลศิครินทร์ และ โรงพยาบาลพญาไท
กำลังโหลดความคิดเห็น