xs
xsm
sm
md
lg

ต่อให้ฉีดวัคซีนจนแขนพรุน ก็ยังไม่สามารถป้องกันโควิดได้?/ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:

ณ บ้านพระอาทิตย์
ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์


จากกรณสิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน ซึ่งมีร้อยละของประชากรซึ่งฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มเร็วกว่าและมากกว่าประเทศไทย กลับมีอัตราการระบาดของโควิด-19 มากยิ่งกว่าประเทศไทยตลอดเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 อีกทั้งกลับระบาดมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ของแต่ละประเทศอีกด้วย

ในขณะเดียวกันผลกับตรงกันข้ามสำหรับประเทศที่ฉีดวัคซีนน้อยกว่าประเทศไทยคือ อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ กลับมีอัตราการระบาดของโควิด-19 น้อยกว่าประเทศไทยตลอดเดือนสิงหาคม-ตุลาคม 2564 อีกด้วย


มาถึงจุดที่ควรจะยอมรับกันได้แล้วหรือยังว่าในโลกของความเป็นจริงแล้ววัคซีนทุกยี่ห้อไม่สามารถจะป้องกันการติดเชื้อได้จริงหรือไม่?

เพราะต่อให้จะฉีดวัคซีนจนแขนพรุนในเวลานี้ก็ยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้ ด้วยข้ออ้างที่ว่าวัคซีนไล่ตาม “ไวรัสกลายพันธุ์”ไม่ทัน

2 ปีผ่านไปแล้ว ก็ยังไม่มีประเทศใดที่ใช้วัคซีนแล้วจะหยุดการระบาดของโควิด-19 ได้ ไม่ว่าจะฉีดไปแล้ว 2 เข็ม หรือมากกว่านั้นก็ตาม จริงหรือไม่?

คำถามในประเด็นที่สำคัญตามมาคือ นอกจากกลุ่มประเทศที่เริ่มฉีดวัคซีนจะกลับมาระบาดมากขึ้นแล้ว เหตุใดไวรัสโควิด-19 จึง “พร้อมใจกัน”การระบาดกลายพันธุ์เป็น “สายพันธุ์เดลต้า”เหมือนๆกันทั้งโลกนับตั้งแต่แต่ละประเทศฉีดวัคซีน

ทั้งๆที่ตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา ทั่วโลกมีการเดินทางไปมาหาสู่กันระหว่างประเทศน้อยมาก !!?

เริ่มแรกประชาชนคนทั้งโลกได้ถูกโฆษณาขู่ว่า ถ้าประเทศใดฉีดวัคซีนช้าแล้วจะเสี่ยงต่อการระบาดหนักของประชาชนจำนวนมากจะนำไปสู่การกลายพันธุ์ของไวรัส

แต่เรื่องที่น่าตลกไปกว่านั้น คือประเทศที่ระดมฉีดวัคซีนเร็วและมากกลับเป็นผู้นำการกลายพันธุ์เสียเองทั้งสิ้น เพราะอะไร?
แม้แต่ประเทศไทยซึ่งถือว่ามีการควบคุมการระบาดได้ดีมากแล้วในปี 2563 ก็บังเอิญเกิดการระบาดหนักของสายพันธุ์เดลต้า หลังเริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่28 กุมภาพันธ์ 2564 แล้วเช่นกัน

ตัวอย่างประเทศสิงคโปร์ที่ฉีดวัคซีนเร็วและมากในระดับต้นๆ ของโลก โดยประชาชนได้รับการบีบให้ฉีดวัคซีนไปจนครบ 2 เข็มแล้วมากถึงร้อยละ 80 สิงคโปร์กลับระบาดหนักมากที่สุดเป็นประวัติการณ์และยังไม่หยุดระบาดในขณะนี้ และเป็นสายพันธุ์เดลต้าร้อยละ 100 โดยไม่มีสายพันธุ์อื่นปนเลย

ข้อสำคัญคือการระบาดของสายพันธุ์เดลต้าระลอกวิกฤตที่สุดครั้งหลังนี้ เกิดขึ้นกับประชากรในสิงคโปร์ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วเป็นส่วนใหญ่ด้วยเช่นกัน

ในขณะที่ประเทศไทยเกิดสายพันธุ์เดลต้า “ครั้งแรก” ที่บ้านพักคนงานย่านหลักสี่ ข้อมูลผู้ติดเชื้อจากการรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นเวลาหลังเริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์2564 ประมาณ 4 เดือน จนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 การฉีดวัคซีนให้กับประชาชนไทยครบ 2 เข็มร้อยละ 44 ในปัจจุบันผู้ป่วยจากไวรัสสายพันธุ์เดลต้าร้อยละ 92 ซึ่งยังน้อยกว่าสิงคโปร์


คำถามคือการกลายพันธุ์มาเป็นเดลต้าก็ดี หรือล่าสุดเดลต้าพลัสก็ดี มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และสาเหตุใดที่ทำให้เกิดการกลายพันธุ์กันแน่ ในเมื่อการเดินทางไปมาข้ามประเทศยังเกิดขึ้นน้อยมาก

สมมุติฐานหนึ่ง คือ การฉีดวัคซีนทำให้ “ลดความรุนแรง”ลง ทำให้ป่วยแล้วไม่รู้ตัว จึงไม่ระมัดระวังตัวแล้วแพร่ระบาดมากขึ้น (โดยเฉพาะฉีดวัคซีนแล้วการ์ดตก) เมื่อประชาชนติดเชื้อมากขึ้นแบบรวมหมู่ เชื้อจึงกลายพันธุ์ และเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ สมมุติฐานนี้มาจากความเชื่อที่ว่าถ้ามีผู้ติดเชื้อกันมากๆ ก็จะทำให้เชื้อกลายพันธุ์ได้

สมมุติฐานที่สอง คือ ไม่เกี่ยวกับวัคซีนหรือการติดเชื้อจำนวนมากใดๆ แต่เกิดจาก “วิวัฒนาการ”ของไวรัส ตามสภาพภูมิอากาศ สิ่งแวดล้อม และวิวัฒนาการของภูมิคุ้มกันในมนุษย์ โดยไวรัสจะกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆ และหากเกิดการกลายพันธุ์เพียงเล็กน้อย วัคซีนซึ่งเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบ“จำเพาะเจาะจง” ก็จะมีประสิทธิศักย์ลดลงหรือใช้ไม่ได้ผลเหมือนเดิม และถ้าเป็นสมมุติฐานนี้หมายความว่าวัคซีนด้วยจำนวนเข็มที่มากขึ้น อาจจะไม่มีทางไล่ทันการกลายพันธ์ุของไวรัสได้ทันตลอดไปได้ด้วย

ทั้งนี้ไวรัสโควิด-19 (SARS-CoV-2) เหมือนไวรัสทั่วไป การกลายพันธ์ุ(mutation) มีโอกาสเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อแพร่จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งการกลายพันธุ์เกิดขึ้นทีละเล็กละน้อย ส่วนใหญไม่สงผลให้พฤติกรรมของไวรัสมีการเปลี่ยนแปลง
การกลายพันธุ์เป็นอันตรายต่อตัวไวรัสเอง บางการกลายพันธุ์ช่วยไวรัสให้รอด (survive) จากการถูกกำจัดโดยสภาพแวดล้อมหรือภุมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ไวรัสกลายพันธุ์นี้สามารถเพิ่มจำนวนต่อไป จนกลายเป็นไวรัส่วนใหญ่ (dominant type)
โดยบางการกลายพันธุ์ทำให้ไวรัสมีความรุนแรงมากขึ้น ผู้ติดเชื้อ มีอาการติดเชื้อรุนแรง อัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น บางการ กลายพันธุ์ทำให้ไวรัสมีการแพร่ระบาดได้ง่ายขึ้น เมื่อการแพร่ ระบาดรวดเร็ว และมีผู้ติดเชื้อเพิ่มเป็นจำนวนมากขึ้นเท่าไร โอกาสเกิดการกลายพันธุ์ยิ่งเพิ่มสูงขึ้น[1]

สมมุติฐานที่สาม คือ วัคซีนทำให้เกิดการกลายพันธุ์ โดยสมมุติฐานนี้มาจากรายงานการศึกษาในวารสารทางวิทยาศาสตร์ในเรื่องเซลล์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ข้อสงสัยการฉีดวัคซีนที่กระตุ้นกลายพันธุ์ของไวรัสเพื่อหลบภูมิคุ้มกันชนิดทีเซลล์ (T-Cell) ซึ่งสมมุติฐานนี้ได้ถูกนำมาอธิบายต่อปรากฏการณ์ของเชื้อไวรัสหลายชนิดที่ไม่สามารถเอาชนะได้ด้วยวัคซีนมาก่อนหน้านี้ เช่น เอชไอวี (โรคเอดส์), โรคไวรัสตับอักเสบบี และไวรัสตับอักเสบซี [2]

และไม่ว่าจะเป็นสมมุติฐานใดใน 3 สมมุติฐานนี้ ก็แปลว่าการไล่ฉีดวัคซีนไปเรื่อยๆ เข็ม 3, 4, 5… ก็ยังไม่มีหลักประกันว่าจะสามารถหยุดโรคนี้ได้จริงๆ

โดยเฉพาะหากมาจากสมมุติฐานว่าไวรัสสามารถกลายพันธุ์ได้จากการฉีดวัคซีนด้วย โดยเป็นเงื่อนไขในการกระตุ้นทำให้เกิดการกลายพันธุ์ไปเรื่อยๆด้วยแล้ว เราคงต้องฉีดกันไปตลอดชีวิตจนแขนพรุนกันไปก็ยังเอาชนะไวรัสไม่ได้ หรือไม่?

แต่ถึงแม้ว่าวัคซีนอาจจะป้องกันการติดเชื้อยังไม่ได้ แต่มนุษยชาติก็ยังคงมีความหวังว่าอย่างน้อยก็ควรจะช่วยลดความรุนแรงของโรคให้น้อยลงได้

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตให้น้อยลงที่สุดเท่าที่จะน้อยได้จนเพียงพอที่จะยอมรับได้ว่าโรคนี้ไม่มีความรุนแรงอีกต่อไป เราจึงจะอยู่กับมันได้โดยไม่ต้องทำลายเศรษฐกิจ

สิ่งที่เราทำได้ในเวลานี้คือถอดบทเรียนจากประเทศที่ฉีดวัคซีนเร็วกว่าและมากกว่าประเทศไทย และมีเผ่าพันธุ์และภูมิอากาศใกล้เคียงกับไทย อันได้แก่สิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน ซึ่งเป็นประเทศต้นแบบของการฉีดวัคซีนมากๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เราได้เห็นพอเป็นกรณีศึกษาได้บ้าง

แต่เมื่อพิจารณาในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไนแล้ว เรายังคงไม่สามารถเห็นตัวเลขอัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ลดลงได้ และเรายังคงไม่เห็นอัตราการเสียชีวิตด้วยโรคโควิด-19 ต่อจำนวนประชากรลดลงได้ด้วยเช่นกัน


ในทางตรงกันข้ามทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน กลับมีอัตราการเสียชีวิตต่อจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 และอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโควิด-19 สูงเพิ่มมากขึ้นก่อนที่จะมีการฉีดวัคซีนเสียด้วยซ้ำ

และถ้าเราจะโทษว่าเพราะไวรัสที่ระบาดในช่วงหลังเป็นสายพันธุ์เดลต้าด้วยแล้ว คำถามก็จะกลับมาวังวันในข้อแรกคือแล้วไวัรัสสายพันธุ์เดลต้าเป็นผลิตผลของการฉีดวัคซีนใช่หรือไม่ และถ้าใช่ก็แปลว่ามนุษยชาติกำลังติดกับดักวัคซีนเช่นกัน และถ้าใช่เราจะยังคงเดินรอยตามสิงคโปร์ มาเลเซีย และบรูไน ในการระดมฉีดวัคซีนอีกต่อไปหรือไม่?

เพราะถ้าวัคซีนช่วยลดความรุนแรงได้จริง ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี แต่ดูเหมือนกับว่าสำหรับประเทศไทยและอีกหลายประเทศ ยังมีการรายงานความจริงอีกด้านหนึ่งน้อยไปว่า ในทุกๆวันนี้ ผู้ที่เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั้งๆที่ฉีดไปแล้ว 1 เข็มกี่ราย และ 2 เข็มกี่ราย?

ทั้งนี้ไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์เดลตา (SARS- CoV-2 Delta Variant) หรือท่ีถูกเรียก “B.1.617.2” ในหมู่นัก ไวรัสวิทยาอุบัติข้ึนคร้ังแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2563ท่ีประเทศอินเดีย ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2563 มีความสามารถในการแพร่ระ บาดเร็วกว่าสายพันธ์ุตั้งต้น

โดยความเร็วในการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์เดลต้าเท่ากับไวรัสกลายพันธุ์ สายพันธุ์อัลฟา ซึ่งช่วงแรกของการระบาดพบความสามารถในการneutralization ของแอนติบอดีที่ถูกกระตุ้นโดยการฉีดวัคซีนลดลงอย่างมากต่อมาในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ.2564 สาธารณสุขของ ประเทศอังกฤษเริ่มพบว่ามีผู้เสียชีวิต 12 ศพ จาก 42 ศพ เกิดจาก การติดเชื้อไวรัสกลายพันธ์ุสายพันธุ์เดลต้า

และข้อสำคัญผู้เสียชีวิตด้วยสายพันธุ์เดลต้าทั้งหมดเคยได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้ว!!!!! [1]

ดร.ดาร์เรลล์ โอ. ไรค์ จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT)จากสหรัฐอเมริกา ได้เคยเขียนบทความทางวิชาการในวารสาร Frontier in Immunology ฉบับเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 [3] โดยได้อ้างถึงถึง “ความล้มเหลว” ของวัคซีนตระกูลโคโรนาไวรัสที่ผ่านมาในสัตว์ทดลองที่ผ่านมาทั้งโรคซาร์ส[4] และโรคเมอร์ส[5] ด้วยเพราะกระตุ้นทำให้ไวรัสเข้าเซลล์ได้มากขึ้นหรือทำให้เกิดอาการของโรครุนแรงขึ้นจากภาวะที่เรียกว่า Antibody-Dependent Enhancement (ADE) [3] อย่างไรก็ตาม ถึงเวลานี้ก็ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดรวบรวมได้ว่าจะเกิดภาวะดังกล่าวกับการฉีดวัคซีนโควิด-19 จริงๆหรือไม่ และมากเพียงใด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรวบรวมสถิติของผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตซึ่งฉีดวัคซีนแล้วในโลกความจริงต่อไป

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทันที่มนุษยชาติจะจัดการกับโรคโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าได้ เรากลับต้องเผชิญหน้ากับการกลายพันธุ์ของ “เดลต้าพลัส” ที่กำลังแพร่เชื้อระบาดในยุโรป (โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร) และกำลังถูกจับตาจากคนทั่วโลก เพราะการกลายพันธุ์ในครั้งนี้ทำให้แพร่เชื้อได้เร็วขึ้นกว่าเดิม ลงปอดง่ายขึ้น หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีกว่าเดิมอีกด้วย [6]

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมากขึ้น รวมถึงฤดูหนาวที่กำลังจะมาเยือน กลายเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยต่อการติดเชื้อโรคทางเดินหายใจได้มากขึ้น จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าประเทศไทยย่อมมีความเสี่ยงที่จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นหลังจากนี้

โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งมีการตรวจเชิงรุกน้อยกว่าอีกหลายประเทศ จึงพบจำนวนผู้ป่วยต่อการตรวจสูงกว่าอีกหลายประเทศในเอเชีย สะท้อนให้เห็นว่าในโลกของความเป็นจริงน่าเชื่อได้ว่ามีผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวนมากที่ไม่ได้รายงานตัวต่อภาครัฐ

แต่ประเทศไทยก็ยังมีความโชคดีอยู่เช่นกัน เพราะในเวลานี้มีประชาชนจำนวนมากตื่นรู้ในการพึ่งพาตัวเองด้วยยาฟ้าทะลายโจร ที่ยังทำให้ประเทศไทยมีความแตกต่างจากอีกหลายประเทศ และเป็นผลตามมาที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ ทั้งที่มีผู้ติดเชื้อไม่รายงานตัวต่อภาครัฐจำนวนมาก

ยา“ฟ้าทะลายโจร” อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติและเป็นยาสามัญประจำบ้านมาอย่างยาวนานในการแก้โรคหวัด[7] และยับยั้งไวรัสโดยภาพกว้าง เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน

และถ้าเราจะอยู่กับโควิด-19 ให้ได้ ต้องให้ประชาชนพึ่งพาโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด และพึ่งพาตัวเองไห้มากที่สุด ด้วยหลักการดังนี้

ประการแรก เป็นโรคที่สามารถรักษาได้

ประการที่สอง เป็นโรคที่สามารถรักษาง่าย

ประการที่สาม ประชาชนสามารถเข้าถึงตัวยาได้ง่าย

ประการที่สี่ ราคาไม่แพง หรือแม้แต่กระทั่งสนับสนุนให้ประชาชนพึ่งพาตัวเองได้โดยไม่ต้องเสียเงินเลย

ด้วยปริมาณยาที่ถูกกำหนดเอาไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติของผงยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาโรคหวัดนั้น 6-12 กรัมต่อวันเป็นเวลา 5 วัน หากสามารถถูกพัฒนาไปสู่การพิสูจน์ปริมาณยาในการใช้กับโรคโควิด-19 ได้เหมือนกัน จะทำให้กลายเป็นจุดเปลี่ยนอันสำคัญในการก้าวข้าม “ความกลัว”ได้

ถ้าทำได้แปลว่าเรากำลังจัดการกับโรคนี้ได้ไม่ต่างจากโรคหวัดธรรมดาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ เพราะเพียงแค่มีอาการก็รีบใช้ยาฟ้าทะลายโจรในทันทีโดยไม่ต้องตรวจเชื้อด้วยซ้ำไป (เนื่องด้วยเพราะใช้ปริมาณยาไม่ต่างกัน)

การใช้ยาฟ้าทะลายโจรเป็นยาที่ประชาชนที่พึ่งพาตัวเองได้ มีแนวโน้มจะเป็นไปได้มากที่สุดในฐานะเป็นยาที่ “ใช้ทันทีเมื่อมีอาการ”โดยไม่ต้องรอตรวจด้วยซ้ำไป


ด้วยหลักฐานและข้อมูลการทดสอบในผู้ป่วยเบื้องต้น ของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกพบว่ายาฟ้าทะลายโจรช่วยลดภาวะการปอดอักเสบได้ร้อยละ 93 [8]

หรือสถิติการใช้ยาฟ้าทะลายที่เรือนจำทั่วประเทศไทยแล้วพบว่าช่วยลดอัตราการเสียชีวิตโดยรวมกว่าร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับผู้ป่วยนอกเรือนจำทั้งประเทศ ตามที่มีการรายงานอยู่ทุกๆวัน

หรือข้อมูลเบื้องต้นในการให้ยาฟ้าทะลายโจรแล้วหายเร็วป่วยกว่ายาฟาวิพิราเวียร์ 4 วัน ทั้งๆที่ใช้เพียง 4.8 กรัมต่อวันในเรือนจำกรุงเทพ(ซึ่งน้อยกว่าปริมาณยาในไข้หวัดธรรมดา)[9]

รวมถึงอัตราการเสียชีวิตของวัดสะพาน เขตคลองเตย กรุงเทพมหานครที่ใช้ยาฟ้าทะลายโจรและสมุนไพรหลายชนิดแล้วพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตต่ำมาก เพราะเสียชีวิตเพียง 1 คนเท่านั้น(ร้อยละ 0.02) จากผู้ป่วยโควิด-19 กว่า4,000 คน ซึ่งถือว่าเป็นสถิติอัตราการเสียชีวิตที่ต่ำกว่าแทบทุกประเทศที่เป็นต้นแบบของฉีดวัคซีนทั้งสิ้น

จากข้อมูลข้างต้นนี้ ยาฟ้าทะลายโจร และตำรับยาไทยทั้งหลาย จึงไม่เพียงควรค่าแก่การทลายการกีดกั้นการวิจัยเท่านั้น แต่ต้องกำหนดเป็นการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติด้วยให้วิจัยสำเร็จอย่างจริงจังด้วย

จากข้อมูลของ “มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดิน” ซึ่งได้จัดทำโครงการแจกยาฟ้าทะลายโจรต้านภัยโควิด-19 ตั้งแต่กรกฎาคมถึงตุลาคม 2564 กว่า 32 ล้านแคปซูล จึงทำให้ได้รับความจริงว่า มีผู้ป่วยโควิด-19 จำนวนมากกำลังเป็น“กบฏฟ้าทะลายโจร” ด้วยการ “ไม่รายงานภาครัฐ” และเลือกหนทางในการพึ่งพาตัวเองด้วยการกินฟ้าทะลายโจรทันทีเมื่อมีอาการ แทนการไปโรงพยาบาลแล้วถูกกีดกั้นไม่ไห้ได้รับยาฟ้าทะลายโจร และหายป่วยไปแล้วจำนวนมาก และมีการบอกต่อๆกันไปแล้วทั่วประเทศ
เพราะเหตุที่ว่า ผลลัพธ์ที่ประเทศไทยยังคงระดับอัตราการเสียชีวิตที่ไม่สูง ไม่ล้นโรงพยาบาลแบบเดิมนั้น ก็เพราะประชาชนเร่ิมเรียนรู้ในการพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้นเรื่อยๆ ไปโรงพยาบาลน้อยลง และรู้จักยาฟ้าทะลายโจร ตำรับยาไทย วิตามิน ออกกำลังกาย รมควันด้วยสมุนไพร ฯลฯ

มาร่วมกันสั่งสมอาวุธทางปัญญาและยาฟ้าทะลายโจร เพื่อเตรียมจัดตั้งขบวนการ ”กบฏฟ้าทะลายโจร” เพื่อรับมือกับการระบาดระลอกใหม่ในฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึงนี้ ให้เพียงพอตั้งแต่วันนี้เถิด

ด้วยความปรารถนาดี

ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลัยรังสิต


อ้างอิง
[1] สิทธิชัย ตันติภาสวศิน ท.บ., ภัทิรา ตันติภาสวศิน ท.บ. ไวรัสโควิด -19 กลายพันธุ์ส ายใหม่กับประสิทธิวัคซีน และการรักษาในปัจจุบัน, บทความฟื้นวิชาการ (Review Article), Chonburi Hospital Journal Vol.46 No.2 May-Aug 2021, page 135-157
https://thaidj.org/index.php/CHJ/article/download/10509/9278/16132

[2] Andrew McMichael,T cell responses and viral escape.
Cell. Vol. 93, 673–676, May 29, 1998, page : 673-676
https://www.cell.com/cell/pdf/S0092-8674(00)81428-2.pdf

[3] Darrell O. Ricke, Two Different Antibody-Dependent Enhancement (ADE) Risks for SARS-CoV-2 Antibodies, HYPOTHESIS AND THEORY article
Front. Immunol., 24 February 2021 |
https://doi.org/10.3389/fimmu.2021.640093

[4] Tseng C-T, Sbrana E, Iwata-Yoshikawa N, Newman PC, Garron T, Atmar RL, et al. Immunization with SARS coronavirus vaccines leads to pulmonary immunopathology on challenge with the SARS virus.PLoS ONE. (2012) 7:e35421. doi: 10.1371/journal.pone.0035421
https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0035421

[5] Agrawal AS, Tao X, Algaissi A, Garron T, Narayanan K, Peng B-H, et al. Immunization with inactivated Middle East Respiratory Syndrome coronavirus vaccine leads to lung immunopathology on challenge with live virus.Hum Vaccin Immunother. (2016) 12:2351–6.doi:10.1080/21645515.2016.1177688
https://www.tandfonline.com/doi/pdf/10.1080/21645515.2016.1177688?needAccess=true

[6] Michelle Roberts, Delta 'Plus' Covid variant may be more transmissible, BBC News, 22 October 2021
https://www.bbc.com/news/health-59009293

[7] ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑๒๐, ง ๔ มิถุนายน ๒๕๖๔
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/120/T_0046.PDF

[8] อัมพร เบญจพลพิทักษ์ และคณะ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข, รายงานสังเขปผลการใช้ยาฟ้าทะลายโจรในการรักษาผู้ป่วย Covid-19, วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, ปีที่ 19 ฉบับที่ 1, มกราคม-เมษายน 2564, หน้า 229-233
https://www.dtam.moph.go.th/E-Book/DTAM_Journal/DTAM_Journal_19-1/index.html

[9] นายแพทย์เอนก มุ่งอ้อมกลาง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดสระบุรี, ประสบการณ์การนำยาสมุนไพรไทยไปใช้ในสถานการณ์การระบาดเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ในเรือนจำกรุงเทพมหานคร, ในการเสนาวิชาการหัวข้อ “ฟ้าทะลายโจร” สมุนไพรในวิกฤต COVID-19, 17 มิถุนายน 2564
กำลังโหลดความคิดเห็น