xs
xsm
sm
md
lg

อาหารเหล่านี้ ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลงได้

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



ในช่วงโควิด-19 นี้ การรับประทานอาหารเสริมภูมิต้านทานโรคถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะได้มีภูมิต่อต้านสู้ภัยกับโรคได้ แต่ในขณะเดียวกัน ก็ยังมีอาหารบางชนิดที่ควรงดหรือลดละเลิก เพราะว่า อาจจะลดประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกัน โดยอาหารที่ควรเลี่ยง มีดังนี้


1.น้ำตาล



การจำกัดปริมาณน้ำตาล ถือว่าเป็นการช่วยให้ร่างกายปลอดภัย เพราะอาหารที่มีน้ำตาลสูง จะทำให้ระดับความดันโลหิตสูงขึ้นได้ และยังเพิ่มความเสี่ยงของการอักเสบของโปรตีน ส่งผลให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันโรคแย่ลง นอกจากนี้ การมีน้ำตาลในเลือดสูง ยังอาจทำร้ายจุรินทรีย์ในลำไส้ ทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะไม่สมดุล ซึ่งอาจทำให้ระบบภูมคุ้มกันลดลง

2.เกลือ

การที่เกลือเป็นส่วนผสมอยู่ในขนม, อาหารแช่แข็ง หรือ เบเกอรี่ต่างๆ สามารถเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคภูมิต่านทานเนื้อเยื่อตัวเองได้ ขณะเดียวกัน เกลือยังเข้าไปยับยั้งการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการตอบสนองต่อการอักเสบและเปลี่ยนแปลงลำไส้ ฉะนั้น จึงทานเกลืออย่างเหมาะสม


3.อาหารทอด

อาหารทอดอยู่ในกลุ่มสารที่ทำให้เกิดการแก่อยู่สูง ซึ่งเกิดจากน้ำตาลมีปฎิกิริยากับโปรตีนหรือไขมันระหว่างมีการปรุงผ่านความร้อน เช่น การทอด ซึ่งทำให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรคทำงานได้แย่ลง ทั้งทำลายกลไกการต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย และส่งผลเสียต่อจุรินทรีย์ดีในลำไส้


4.เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง

เครื่องดื่มจำพวกชากาแฟ มีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้ร่างกายตื่นตัว แต่การดื่มเครื่องดื่มประเภทนี้มากเกินไป อาจจะรบกวนการนอน ซึ่งทำให้ภูมิป้องกันของร่างกายลดลง

ฉะนั้นควรที่จะพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชั่วโมง และควรงดดื่มชาและกาแฟก่อนนอน


5.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

จากการศึกษาหลายชิ้นมีการพบว่า การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่เกินกว่าค่าเฉลี่ยที่สมควรดิ่มในแต่ละคน ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน แถมมีการเพิ่มความไวต่อการเจ็บปวด เช่น โรคปอดบวม และปัญหาทางเดินหายใจอื่นๆ ได้อีกด้วย

ซึ่งถ้าอยากรับประทานสารอาหารที่สร้างภูมิคุ้มกัน นั้น ควรรับประทานอาหารดังนี้


1.วิตามินซี

จะช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาวและช่วยกระบวนการทำลายเชื้อโรค โดยความต้องการต่อวันตามข้อกำหนดปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน เนื่องจากวิตามินซีจะสูญเสียได้ง่ายเมื่อโดนความร้อนและสัมผัสน้ำโดยตรง ดังนั้นการปรับกระบวนการปรุงประกอบผักดิบโดยนึ่งหรือผัดที่ใช้ระยะเวลาสั้น ๆ ก็จะช่วยสงวนวิตามินซีในผักได้ดียิ่งขึ้น ตามคำแนะนำการรับประทานผักผลไม้ต่อวันให้ได้อย่างน้อย 400 กรัมและเลือกผักผลไม้ที่เป็นแหล่งวิตามินซี เราก็จะสามารถได้รับวิตามินซีที่เพียงพอ

2.วิตามินเอ

วิตามินเอจะช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยแหล่งอาหารที่ดีที่ร่างกายสามารถดูดซึมและใช้ประโยชน์ได้สูง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม และแหล่งอาหารรองลงมาจะได้จากพืช ได้แก่ ผักใบเขียวเข้ม ผักและผลไม้สีเหลืองและส้ม เช่น ตำลึง ผักบุ้ง แครอท ฟักทอง มันเทศสีเหลือง มะละกอสุก


3.สังกะสี

สังกะสีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งควบคุมการทำงานของเอนไซม์ที่เป็นกลไกหลักในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งแหล่งอาหารที่ดีเมื่อพิจารณาจากปริมาณและการดูดซึมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ เนื้อสัตว์และเครื่องใน หอยนางรม สัตว์ปีกและปลา รวมถึงไข่ และ นม ที่จะช่วยได้ด้วยเช่นเดียวกัน


4.โปรตีน

สำหรับโปรตีนนั้น จะช่วยสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันและสารภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ซึ่งโปรตีนที่มีคุณภาพดีมีกรดอะมิโนจำเป็นที่ครบถ้วน สามารถได้รับจากเนื้อสัตว์ ไข่ นม (พร่องหรือขาดมันเนย) ชีส (เลือกชนิดที่ไขมันต่ำ) เต้าหู้ ถั่วเหลือง ส่วนโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วต่าง ๆ เมล็ดพืชต่าง ๆ ก็สามารถเลือกรับประทานควบคู่กับแหล่งอาหารจากพืชอื่น ๆ เพื่อเติมเต็มในส่วนของกรดอะมิโนจำเป็นที่โปรตีนจากพืชชนิดนั้น ๆ ไม่ครบถ้วน เช่น ถั่วเมล็ดแห้ง (ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ) คู่กับถั่วเปลือกแข็งหรือเมล็ดพืช

5. จุรินทรีย์สุขภาพ

ไม่ว่าจะเป็นในแบบโพรไบโอติกส์ หรืออาหารที่มีพรีไบโอติกส์ ก็จะช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยแหล่งอาหารที่ดีที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ ได้แก่ โยเกิร์ตและนมเปรี้ยวที่ระบุไว้ว่ามีการเติมโพรไบโอติกส์ แต่ควรเลือกที่น้ำตาลต่ำ ส่วนอาหารสำหรับจุลินทรีย์สุขภาพ ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในแหล่งอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ธัญพืช ข้าวโอ๊ต ถั่วเมล็ดแห้ง กล้วย หัวหอมใหญ่ กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง
กำลังโหลดความคิดเห็น