xs
xsm
sm
md
lg

ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



เรียกได้ว่าเป็นที่กล่าวถึงอยู่พอสมควรเลย สำหรับ ‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’ ที่เป็นสภาวะภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่าง เพราะถ้าคลาดสายตาไปเพียงนิดเดียว อาจจะทำให้เกิดเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ก็เป็นได้ ฉะนั้น เรามาทำความรู้จักกับภาวะนี้กัน


ภาวะอาการและสาเหตุของ ‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’

ภาวะหัวใจหยุดเต้นฉียบพลัน หรือ Sudden Cardiac Arrest คือภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนไม่มีการบีบตัวหรือหยุดเต้นทันที โดยที่ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า ซึ่งเมื่อเกิดสภาวะนี้ขึ้น จะทำให้ไม่มีการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทำให้การทำงานของอวัยวะผิดปกติ

ส่วนสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าวนี้นั้น ส่วนใหญ่เกิดมาจากอาการที่หัวใจผิดปกติ ที่เรียกว่า Ventricular Fibrillation ซึ่งในภาวะปกติ หัวใจจะผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นให้หัวใจบีบตัวเป็นจังหวะ เพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย แต่เมื่อหัวใจเต้นผิดปกติชนิด Ventricular Fibrillation กระแสไฟฟ้าที่ส่งออกจากหัวใจจะเร็วและไม่เป็นจังหวะ จนทำให้หัวใจไม่บีบตัวและเลือดไม่สามารถไปเลี้ยงร่างกายได้ ผู้ป่วยจะหมดสติภายในไม่กี่วินาทีและเสียชีวิตได้ทันที


สังเกตอาการ ‘ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน’

1.อาการหายใจเหนื่อย

อาการนี้ถือว่าเป็นอาการสำคัญของโรคนี้ จะเห็นได้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และโรคความดัน โดยอาการจะเกิดขึ้นเมื่อมีการออกแรง หายใจไม่สะดวกขณะที่นอนราบกับพื้น หรือในขณะนอนหลับต้องตื่นขึ้นมา เนื่องจากรู้สึกหายใจไม่สะดวก

2.อาการอ่อนเพลีย

สำหรับอาการอ่อนเพลียนั้น เกิดจากเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ลดลง ทำให้ความสามารถในการทนต่อการทำกิจกรรมในแต่ละวันลดลง

3.มีอาการบวมจากภาวะคั่งน้ำและเกลือ

ส่วนผู้ที่มีอาการบวมดังกล่าวนั้น มักจะเกิดในบริเวณเท้าและขามีลักษณะบวม หรือมีน้ำคั่งในปอด และอวัยวะภายใน เช่น ตับ ม้าม ไต มีน้ำในช่องท้องทำให้มีอาการท้องบวม ท้องโต และแน่นอึดอัด


ผู้ที่มีความเสี่ยงของภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว จะอยู่ที่ผู้ที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้น ส่วนความเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันที่พบบ่อยได้แก่ คนที่เป็นโรคเบาหวาน, ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ฯลฯ ส่วนผู้ที่อายุน้อยกว่า 35 ปีนั้นต้องอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายจากแพทย์เป็นหลัก เพื่อค้นหาว่า มีโรคความผิดปกติโดยกำเนิดหรือไม่ซึ่งอาจจะยังไม่แสดงอาการใดๆ ก็ได้ รวมไปถึงผู้ที่ออกกำลังกายอย่างหนัก ก็อาจจะมีเข้าข่ายได้ด้วยเช่นเดียวกัน


อาหารที่ช่วยบำรุงหัวใจ

-ถั่วฝักยาว

มีการศึกษาและค้นพบว่า คนที่ทานพืชตระกูลถั่ว ไม่ว่าจะเป็นถั่วฝักยาว, ถั่วพู หรือ ถั่วแขก ให้ได้อย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจลงไปได้ถึง 22 เปอร์เซ็นต์ และช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือกของคนที่เป็นเบาหวาน และ โรคหัวใจด้วย

-บีทรูท

บีทรูทมีไนเตรท กล่าวคือ เป็นสารที่ช่วยลดการสะสมของไขมันและลดการอุดตันในกระแสเลือด อีกทั้งยังช่วยในเรื่องของการไหลเวียนของเลือดให้ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น แถมยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจอีกต่างหาก

-แซลมอน

เนื้อปลาแซลมอนที่คนชอบรับประทานนั้น มีแหล่งของโอเมก้า-3 ชั้นดี ที่ช่วยลดการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เพราะในเนื้อปลานั้นมีกรดอีโคซะเพนตะอีไนอิก และ กรดโดไคซะเฮกชะอีโนอิก หรือกรดดีเอชเอ ที่ช่วยลดในการติดเชื้อ ป้องกันไม่ให้เลือดแข็งตัว และภาวะหัวใจวาย แถมยังช่วยลดเสี่ยงในโรคหลอดเลือดสมอง โรคความดัน และ ไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

-กระเทียม

นอกจากที่จะช่วยควบคุมคอเลสเตอรอล ช่วยทำลายสิ่งดังกล่าวและไขมันในชั้นผนังด้านในของหลอดเลือด กระเทียมยังก่อให้เกิดความยืดหยุ่น ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก จนทำให้หลอดเลือดแข็งแรง และส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ

-ดาร์กช็อคโกแลต

สำหรับสาวกช็อคโกแลตนั้น น่าจะดีใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะมีการศึกษามาว่า ช็อคโกแลตมีสารฟลาโวนอยด์ชนิดหนึ่ง คือ โพลิพีนอล ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระที่ช่วยในเรื่องของความดันโลหิต ลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดการแข็งตัวของเลือด รวมถึงช่วยลดอาการหัวใจวานและโรคหลอดเลือดสมองในคนที่มีความเสี่ยงสูงได้ แต่ช็อคโกแลตที่ว่านั้นต้องทำมาจากโกโก้ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นนะ ถึงจะช่วยได้

-บลูเบอร์รี่

จริงๆ พืชตระกูลเบอร์รี่ ก็มีประโยชน์ต่อหัวใจมากเช่นกัน ยิ่งคนที่อายุ 25 ปีชึ้นไป ถ้าทานผลไม้ตระกูลนี้เป็นประจำ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายลดได้ถึง 32 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ทาน เพราะผลไม้ตระกูลนี้มีสอนแอนไทไซยานิน และ สารฟลาไวนอยด์ ที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสรัชั้นดี ที่ช่วยลดความดันโลหิตและขยายหลอดเลือดหัวใจได้ดี

-แปะก๊วย

นอกจากที่จะช่วยให้มีความจำดีขึ้น ลดอาการขี้หลงขี้ลืมแล้ว ซึ่งเป็นปัจจัยในการรักษาโรคหลอดเลือดสมอง อีกทั้งยังช่วยในขยายหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ช่วยป้องกันและลดการแข็งตัวของเกล็ดเลือด เพราะถ้าเลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดี จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหัวใจได้เหมือนกัน

-ถั่ววอลนัท

ถั่ววอลนัทช่วยให้เซลล์บุผนังหลอดเลือดทำงานได้ดี อีกทั้งยังช่วยป้องกันหลอดเลือดตีบ ช่วยลดคอเลสเตอรอล และยังลดความเสี่ยงโรคหัวใจอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา และ โรงพยาบาลสุขุมวิท
กำลังโหลดความคิดเห็น