xs
xsm
sm
md
lg

(ชมภาพ) มองจีนแก้จนในทิเบต สู่ยุคความเจริญทางวัตถุมาเหนือ ‘จิตวิญญาณ’

เผยแพร่:   ปรับปรุง:


คู่รักถ่ายภาพที่ระลึกก่อนพิธีแต่งงานหน้าวังโบตาลา นครลาซา ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)
MGR ONLINE--การบรรลุภารกิจบรรเทาความยากจนของจีนเป็นที่กล่าวขานกันทั่วโลก คราวนี้มาชมบ้านเมืองในเขตปกครองตัวเองชนชาติทิเบตบนแดนหลังคาโลก หลังจากที่จีนได้บุกตะลุยดำเนินโครงการพัฒนาและขจัดความยากจนขั้นสูงสุด (absolute poverty) เพื่อผลักดันสังคมจีนทุกหย่อมหญ้าเข้าสู่ขั้นการพัฒนาที่เรียกว่า “เสี่ยวคังเซ่อฮุ่ย” (小康社会ในภาษาอังกฤษคือ well-off society) ตามหน้าศัพท์ภาษาจีน หมายถึง “สังคมสมบูรณ์พูนสุข”


เมื่อปลายปีที่ผ่านมาจีนได้พากลุ่มผู้สื่อข่าวต่างชาติไปเยี่ยมชมการพัฒนาและบรรเทาความยากจนในทิเบต โดยมีผู้สื่อข่าวรอยเตอร์สร่วมทริปไปด้วย เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนได้พาผู้สื่อข่าวกลุ่มนี้ไปสัมภาษณ์คนท้องถิ่นและถ่ายภาพมาให้ชาวโลกดูกันเห็นๆว่า การพัฒนาทิเบตได้พลิกโฉมสภาพบ้านเมืองออกมาเป็นอย่างไร ทั้งนี้ทิเบตจัดอยู่ในกลุ่มเขตที่มีการพัฒนาน้อยของจีนอีกทั้งเป็นจุดร้อนความขัดแย้งทางการเมือง

ธงชาติจีนโบกสะบัดหน้าวังโปตาลา นครลาซา ภาพต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)
นาย เซคิด (Dzekyid) เกษตรกรวัย 54 ปี คุยโวอย่างภาคภูมิว่าเขาเป็นแบบอย่างของเพื่อนบ้าน และเป็นตัวแทนความสำเร็จของผู้นำจีนที่ “ใช้การพัฒนาเศรษฐกิจมาควบคุมสังคมในดินแดนหลังคาโลกแห่งนี้”

บ้านใหม่ที่ดูดีของเซคิดอยู่ในหมู่บ้านจังดัม (Jangdam) อำเภอ ซัมชุปเซ(Samzhubze) นอกเมืองชิกัตเซ (Shigatse) ภายในบ้านมีวัตถุสิ่งของในวัฒนธรรมทิเบตคือ คัมภีร์พุทธศาสนา ภาพเขียนทังก้า และกงล้ออธิษฐาน

พ่อของเซคิด คือเทนซินวัย 76 ปี หมุนกงล้ออธิษฐานวันละสองครั้ง แต่ เซคิดเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จึงไม่เชื่อว่ามีพระเจ้าใดๆ

“เรามีบ้านหลังนี้ได้เพราะนโยบายของรัฐบาล หัวใจของผมเทิดทูนเพียงพรรคฯ มิใช่ศาสนา” เซคิดบอกกับกลุ่มผู้เสื่อข่าวที่ไปทัวร์ทิเบตภายใต้โครงการที่รัฐบาลจีนเป็นจัด

หญิงทิเบตเดินผ่านหมู่บ้านใหม่ที่รัฐบาลสร้างขึ้นสำหรับชนชาติทิเบตที่ถูกเจ้าหน้าที่ย้ายลงจากที่ราบสูงโดยเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งที่ทางการจีนเรียกว่าการบรรเทาความยากจน ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)
จีนได้ผลักดันพัฒนาทิเบตพร้อมกับเปลี่ยนความเชื่อและคุณค่าของชาวทิเบตเพื่อให้สอดคล้องกับ “กระแสหลักสมัยใหม่”ของประเทศ รวมทั้งเรียกร้องให้ผู้นับถือศาสนาทุ่มเทให้แก่ศาสนาน้อยลง และหันมาพัฒนาดินแดนที่เป็นความเจริญทางวัตถุจับต้องได้

“ทิเบตมีนิสัยเก่าบางอย่างที่ไม่ดี เนื่องจากศาสนามุ่งเน้นไปที่ชีวิตหลังความตาย และไม่ใส่ใจที่จะมีความสุขกับชีวิตปัจจุบัน” เช ดาลา ประธานเขตปกครองตัวเองแห่งทิเบต กล่าว

จีนได้โชว์โครงการบรรเทาความยากจนที่ประกอบด้วยมาตรการ อาทิ การย้ายครอบครัวชาวทิเบตไปอาศัยในบ้านที่ปลูกสร้างใหม่ การส่งเสริมประชาชนไปโรงเรียนอาชีวศึกษา การพัฒนาธุรกิจอย่างเช่น ฟาร์มเพาะเห็ดที่มีการควบคุมสภาพอากาศ

เดคี ปัลดรอนผู้ใหญ่บ้านไจคุงทังเล่าว่ารัฐบาลได้ให้บ้านหลังใหม่ฟรีแก่ครอบครัวที่ยากจนสุดๆ พร้อมกับแนะนำว่า “ไม่ควร” จัดห้องโถงเพื่อบูชาพระพุทธอย่างที่ “บ้านทิเบตแบบดั้งเดิม”ทำกัน ไม่ควรทำตัว “ตีสองหน้า” หลังจากรับประโยชน์จากพรรคคอมมิวนิสต์

ภาพประธานาธิบดี สี จิ้นผิง และอดีตประธานาธิบดีจีนในบ้านของนาย เซคิด ผู้ให้สัมภาษณ์นักข่าวที่ไปเยี่ยมชมการพัฒนาทิเบต ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)
สวดมนต์ให้น้อยลง ทำงานหนักขึ้น

เจ้าหน้าที่รัฐยังบอกให้ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการบรรเทาความยากจน ใช้จ่ายด้านศาสนาให้น้อยลง และเอาเงินไปลงทุนเพื่อสร้างรายได้และอนาคตของลูกหลาน

ณ โรงเรียนอาชัวศึกษาในเมืองญิงชี (Nyingchi) ติดป้ายขนาดใหญ่เขียนว่า “โรงเรียนใช้การศึกษาทางการเมืองและอุดมการณ์เพื่อต่อสู้กับลัทธิแบ่งแยกดินแดน ประณามทะไล ลามะ และป้องกันศาสนาครอบงำประชาชน

บ้านหลังใหม่ของชาวทิเบต นาย เซคิด ผู้เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ ในบ้านยังมีกงล้อมนต์ทิเบต ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)
“เมื่อสิบปีที่แล้ว ชาวบ้านแข่งขันกันบริจาคเงินให้แก่วัด ขณะนี้พวกเขาหันมาแข่งขันกันดูว่า ลูกบ้านไหนได้งานที่มั่นคงในหน่วยงานรัฐ หรือใครมีรถยนต์” การ์มา เทนปะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้นโฆษณาชวนเชื่อ บอกกับผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ส

ในอดีต ชาวทิเบตทุกครัวเรือนติดรูปภาพทะไล ลามะในบ้าน แต่ขณะนี้รัฐบาลห้ามติดรูปทะไล ลามะ บ้านทุกหลังที่เจ้าหน้าที่จีนพาผู้สื่อข่าวต่างชาติไปเยี่ยมเยือนนั้นล้วนติดภาพประธานาธิบดี สี จิ้นผิงไว้อย่างโดดเด่น
ตามถนนหนทาง มีป้ายสโลแกนเรียกร้องให้จงรักภักดีต่อจีนและพรรคคอมมิวนิสต์

*กลุ่มวิพากษ์วิจารณ์ชี้ว่าจีนได้เชื่อมโยงการขจัดความยากจนเข้ากับชีวิตในทางโลก...

แม่ชีในศาสนาพุทธแบบทิเบตเดินผ่านโปสเตอร์ยักษ์ภาพประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และอดีตผู้นำจีน (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)
ชาวทิเบตตามชนบทถูกเกณฑ์ให้มาอยู่ในศูนย์ฝึกฝนอาชีพที่เพิ่งสร้างใหม่เมื่อไม่นานมานี้ พวกเขาถูกฝึกให้เป็นคนงานโรงงาน...

เจ้าหน้าที่ในโครงการบรรเทาความยากจนเล่าว่า พวกเราเดินทางไปตามชนบท อธิบายกับกลุ่มคนเร่ร่อน คนเลี้ยงสัตว์ บอกกับพวกเขาว่าควรฝึกทักษะเพื่อที่จะได้รับค่าแรงสูงขึ้น ตอนนี้พวกเขาได้เห็นประโยชน์ของสิ่งที่รัฐทำแล้ว และมาหาพวกเราโดยไม่ต้องบอกหรือชักชวนแต่อย่างใด” หลิน เป่ย เจ้าหน้าที่ในโครงการบรรเทาความยากจนบอกกับผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ส

ชาวทิเบตเดินผ่านร้านฟาสต์ฟู้ด เคเอฟซี ระหว่างจาริกแสวงบุญรอบวัดโจคัง ในลาซา ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)
"ชื่อเสียง" หรือ "ความน่าละอาย"

“ครอบครัวที่รักษาความสะอาดหรือทำตัวดีตามมาตรฐานทางการ จะได้รับรางวัล อาทิ ผ้าเช็ดตัว ผงขัดตัว และผู้ที่ทำได้ดีที่สุด จะถูกขึ้นชื่อบนบอร์ดติดประกาศในหมู่บ้านเป็น “ครอบครัวห้าดาว” ส่วนผู้ที่มีพฤติกรรมไม่พึงปรารถนาก็จะถูกขึ้นชื่อประจาน “น่าละอาย”

หญิงชาวทิเบตนอนคว่ำระหว่างเดินกราบตามความเชื่อศาสนาพุทธแบบทิเบตที่เรียกว่า การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ บริเวณอารามในเมืองชิกัตเซ ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)

คนเลี้ยงจามรีบนภูเขาในอำเภอเกียงเซของทิเบต  ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)

ดินแห้งแตกระแหงในอำเภอซัมชุปเซของทิเบต ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)

คนงานหญิงทำงานในฟาร์มเห็ดของโครงการ Everest Agricultural Investment Fund ในเมืองชิกัตเซภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)

สะพานทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมลาซากับเมืองชิกัตเซ ซึ่งจะเปิดใช้ในเดือนก.ค.นี้ ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)

โรงงานก่อสร้างวัตถุดิบอุปกรณ์ของบริษัทก่อสร้างทางรถไฟจีน (China Railway Construction Corporation /CRCC) ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)

คนงานกำลังทำงานในเขตก่อสร้างเมืองญิงชี ภาพ ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)



นครลาซา มองจากวังโปตาลา ภาพเดือน ต.ค.2020 (แฟ้มภาพรอยเตอร์ส)
กำลังโหลดความคิดเห็น