xs
xsm
sm
md
lg

บางที “น้ำแร่” ก็ไม่เหมาะกับทุกคน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



เพิ่งอ่านข่าวชิ้นหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ มาว่า ประเทศไทยเรานั้นมีการค้นพบน้ำแร่แห่งใหม่แถวบริเวณภาคตะวันตกของไทย โดยมีการบอกกล่าวว่า แหล่งน้ำตรงนี้สามารถดื่มได้ เพราะเป็นทั้งน้ำแร่ และมีคุณประโยชน์มากมาย แต่ในขณะเดียวกัน “น้ำแร่” ก็ไม่เหมาะกับบางคนเช่นเดียวกันนะ


น้ำแร่ คืออะไร

“น้ำแร่” ก็คือน้ำบาดาลที่มีแหล่งกำเนิดมาจากธรรมชาติ โดยเกิดมาจากทางธรรมชาติต่างๆ ทั้งทางน้ำพุธรรมชาติ หรือ น้ำพุร้อน ซึ่งไม่ใช่การนำแร่ธาตุมาเติมในน้ำเอง และน้ำแร่นั้น หลัก ๆ จะมีแร่ธาตุอยู่ 5 ชนิด คือ แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และกำมะถัน แต่แหล่งน้ำในแต่ละที่นั้นก็ขึ้นอยู่กับว่า จะมีแร่ชนิดไหนอยู่มากกว่ากันเช่นเดียวกับรสชาติของแต่ละแหล่ง ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะมีรสไหนที่มากกว่าด้วยเช่นกัน

ถ้าถามว่า ระหว่างน้ำแร่ กับ น้ำเปล่านั้น มีความแตกต่างกันหรือไม่ ก็บอกได้เลยว่า ไม่มีความแตกต่างมากนัก เพราะในน้ำเปล่านั้น ก็มีแร่ธาตุอยู่เหมือนกัน แต่แค่มีปริมาณน้อยกว่าในน้ำแร่แค่นั้นเอง


การดื่มน้ำแร่

1.การดื่มน้ำแร่ในระยะเวลาสั้นๆ

คือการดื่มน้ำในปริมาณ 1 ลิตร ภายใน 30 นาที ขณะท้องว่าง ซึ่งการดื่มน้ำแร่ในลักษณะนี้จะใช้ในลักษณะการหวังผล เช่น ขับนิ่วออกจากร่างกาย แต่ไม่แนะนำในดื่มตอนกลางคืน เพราะว่าจะทำให้ลุกขึ้นมาเข้าห้องน้ำได้

2.การดื่มแบบทยอยในปริมาณไม่สูง

หมายถึง การดื่มน้ำแร่ในปริมาณ 500 มิลลิลิตร และ ตามด้วยน้ำแร่ 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยจิบน้ำครั้งละน้อย ในตอนที่กำลังอ่อนเพลีย หรือ ขณะเดิน หรือพร้อมมื้ออาหาร


ใครที่ไม่เหมาะกับการดื่มน้ำแร่
แม้ว่า “น้ำแร่” จะมีลักษณะคุณประโยชน์ที่หลากหลาย แต่ก็มีข้อควรระวังที่ต้องเช็คให้แน่ใจอีกครั้ง เพื่อไม่ให้ก่อเกิดโทษให้กับร่างกายด้วยเช่นกัน ซึ่งทางนายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ได้ออกมาให้ข้อมูล ถึงกลุ่มคนที่ไม่แนะนำให้ดื่ม มีดังนี้

-ผู้ที่มีอาการบวมน้ำ
-ผู้ป่วยโรคไต
-ผู้ที่ระบบการทำงานของหัวใจไม่ดั
-ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
-ผู้ที่มีการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารในปริมาณที่มาก
-ผู้ที่มีโรคระบบทางเดินหายใจที่มีภาวะหลอดลมหดเกร็ง

ข้อมูลอ้างอิง : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
กำลังโหลดความคิดเห็น