xs
xsm
sm
md
lg

ชมพูพันธุ์ทิพย์กำแพงแสนบานรอบแรกรับวาเลนไทน์

เผยแพร่:   ปรับปรุง:


ภาพวันที่ 13 ก.พ. 64 จากเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
เพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โพสต์ภาพอัพเดทชมพูพันธุ์ทิพย์ภายในมหาวิทยาลัยที่เริ่มเบ่งบานรอบแรกตั้งแต่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และคาดว่าในรอบแรกนี้จะบานไปถึงต้นเดือนมีนาคม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ

ทั้งนี้เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทางมหาวิทยาลัยมีความเป็นห่วงพี่น้องคนไทย ได้ลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด ชวนนักท่องเที่ยวร่วมชมความสวยงามของดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ผ่านช่องทางออนไลน์ Youtube: Pirun Channel ซึ่งวันเเละเวลาในการออกอากาศสามารถติดตามได้จากหน้าเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ส่วนนักท่องเที่ยวที่อยากเดินทางมาชมด้วยตัวเอง ก็ขอความร่วมมือตรวจวัดอุณหภูมิ สวมหน้ากากอนามัย ท่องเที่ยวแบบอนุรักษ์ ไม่เด็ด ไม่โน้มกิ่งถ่ายภาพ

ภาพวันที่ 13 ก.พ. 64 จากเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ภาพวันที่ 13 ก.พ. 64 จากเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
สำหรับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เป็นแหล่งชมดอกชมพูพันธุ์ทิพย์บานแหล่งใหญ่ ซึ่งต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ หรือ ตาเบบูยานี้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้ปลูกขึ้นมากว่า 30 ปี และมีจำนวนมากกว่า 200 ต้น โดยปลูกอยู่ทั้งสองข้างทางเป็นฝั่งแนวยาว บริเวณริมถนนวัฒนา เสถียรสวัสดิ์(ถนนหลังมอ) เมื่อถึงเวลาช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคมของทุกปี ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์จะผลัดใบและออกดอกสีชมพูเป็นทางยาว

และนอกจากที่ริมถนนวัฒนา เสถียรสวัสดิ์ แล้ว บริเวณรอบๆ สระน้ำพระพิรุณถือเป็นอีกหนึ่งจุดชมดอกชมพูพันธุ์ทิพย์ใน ม.เกษตรฯ กำแพงแสน ซึ่งก็มีความงดงามไม่แพ้กัน ผู้ที่สัญจรไปมาและนักท่องเที่ยวสามารถเข้ามาถ่ายรูปได้ กลายเป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยวของนครปฐม

ภาพวันที่ 13 ก.พ. 64 จากเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

ภาพวันที่ 13 ก.พ. 64 จากเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
“ชมพูพันธุ์ทิพย์” เป็นไม้ขนาดใหญ่มีดอกสีชมพูอ่อน ชมพูสด และขาว มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก อย่างเช่น ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา ตาเบบูยา

ในเมืองไทยชมพูพันธุ์ทิพย์จะออกดอกในช่วงกลางเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนมีนาคม ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ โดยใช้ระยะเวลาบานประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนที่ดอกจะร่วงโรยไป ความงดงามของพรรณไม้ชนิดนี้อยู่ตรงที่เมื่อผลัดใบทั้งหมด จะเหลือแต่กิ่งก้าน ให้ดอกสีชมพูได้ชูช่อเป็นจำนวนมากอยู่บริเวณปลายกิ่งดูอ่อนหวานงดงามยิ่งนัก

ภาพวันที่ 13 ก.พ. 64 จากเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
สามารถส่งข้อมูลข่าวสารด้านการท่องเที่ยว-อาหารมาได้ที่ อีเมล์ travel_astvmgr@hotmail.com หรือ ชมคลิปต่าง ๆ ได้ที่ Youtube :Travel MGR และ Instagram : @travelfoodonline และ TikTok : @travelfoodonline


กำลังโหลดความคิดเห็น