xs
xsm
sm
md
lg

‘ไบเดน’ จะรีเซตนโยบายจีนของสหรัฐฯ เสียใหม่อย่างแน่นอน

เผยแพร่:












ขณะดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน เคยเดินทางไปเยือนจีนหลายครั้ง และได้พบปะกับ สี จิ้นผิง




ขณะดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน เคยเดินทางไปเยือนจีนหลายครั้ง และได้พบปะกับ สี จิ้นผิง














Biden will reset US’ China policies
by M. K. BHADRAKUMAR
19/11/2020

สิ่งสำคัญที่สุดคือความสามารถของสหรัฐฯในการทำให้จีนเคลื่อนตัวไปในทิศทางซึ่งสหรัฐฯต้องการ—ไม่ว่ามันจะเป็นพวกนโยบายทางเศรษฐกิจหรือประเด็นปัญหาทางการเมืองก็ตาม

ในภูมิรัฐศาสตร์ เมื่อเวลาผ่านไป ความรับรู้ความเข้าใจที่ผิดๆ ก็มีความโน้มเอียงที่จะกลายเป็นความคิดเห็นซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป ในระยะ 2-3 ปีมานี้ มีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งซึ่งหยั่งรากจนเหมือนกับมีความเข้าใจตรงกัน นั่นคือเรื่องที่ว่า ในสหรัฐฯนั้น “มีความคิดเห็นอย่างเป็นฉันทามติ” เกี่ยวกับนโยบายที่จะใช้กับจีน

ตามเรื่องเล่าที่ว่านี้ สมัยแห่งการเป็นประธานาธิบดีของ โจ ไบเดน ซึ่งจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนมกราคมปีหน้า จะมากจะน้อยก็จะมีการสืบต่อพวกนโยบาย “แข็งกร้าว” ต่อจีนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ดำเนินมา โดยเฉพาะพวกนักวิเคราะห์ชาวอินเดียนั้นต่างต้อนรับเรื่องเล่านี้ด้วยความยินดีปรีดาว่ามันเป็นฉากทัศน์ที่น่าจะเกิดขึ้นอย่างมากๆ

อย่างไรก็ดี ความเป็นจริงในเวลานี้มีอยู่ว่า ยังคงกำลังมีการอภิปรายถกเถียงกันในสหรัฐฯในเรื่องนโยบายต่อจีน ระหว่างพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกัน และกระทั่งภายในพรรคทั้งสองเองด้วย บางส่วนของการถกเถียงนี้เราสามารถชำเลืองดูได้ในระยะไม่กี่วันมานี้ในรายงานข่าวของสื่อมวลชนที่ระบุว่า คณะบริหารทรัมป์อาจจะ “พยายามโอบล้อมคณะบริหารไบเดน” ให้ต้องยอมกระทำตามในเรื่องนโยบายเกี่ยวกับจีน

รายงานชิ้นหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ของซีเอ็นเอ็น ได้อ้างเจ้าหน้าที่บริหารทรัมป์พูดกันว่า “พวกสายเหยี่ยวจีนในคณะบริหารทรัมป์เชื่อว่า มีการปฏิบัติการบางอย่างบางประการที่พวกเขาสามารถลงมือกระทำกันในตอนนี้แล้วจะเป็นการโอบล้อมคณะบริหารไบเดนให้ต้องเดินตาม” นี่ไม่ใช่เป็นการเลือกใช้คำที่น่าสนใจหรอกหรือ— อย่างเช่น “พวกสายเหยี่ยวจีน”? นี่ก็ต้องหมายถึงว่า แม้กระทั่งภายในคณะบริหารทรัมป์ก็ยังมีทั้งสายเหยี่ยวและสายพิราบเลย!

สื่อออนไลน์ “แอคซิออส” (Axios) เป็นเจ้าแรกซึ่งเผยแพร่เรื่องราวที่ว่า ทรัมป์จะ “บัญญัติพวกนโยบายแข็งกร้าวชุดหนึ่งขึ้นมาในระหว่าง 10 สัปดาห์สุดท้ายของเขา เพื่อทำให้มรดกของเขาในเรื่องจีนมีความหนักแน่นมั่นคง ... เขาจะพยายามทำให้มันกลายเป็นเรื่องต้านทานไม่ไหวในทางการเมืองสำหรับคณะบริหารไบเดนที่จะเปลี่ยนแปลงเส้นทาง”

สิ่งที่รายงานข่าวนี้บ่งบอกเป็นนัยเอาไว้ก็คือ คณะบริหารทรัมป์มีความหวั่นเกรงว่าไบเดนนั้นมีนโยบายด้านจีนของเขาเอง

แน่นอนทีเดียว ปักกิ่งคาดการณ์ว่าจะเกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นมา เหอ เว่ยเหวิน (He Weiwen) อดีตเจ้าหน้าที่การค้าอาวุโสของจีน และสมาชิกสภาบริหารคนหนึ่งของสมาคมจีนเพื่อองค์การการค้าโลกศึกษา (China Society for World Trade Organization Studies) พูดเอาไว้อย่างนี้: “ไบเดนจะไม่แคร์หรอกว่าอิฐบล็อกก่อสร้างประเภทไหนที่ทรัมป์เอามาวางเรียงให้แก่เขา เขาสามารถที่จะทลายมันลงมาได้ เหมือนกับที่ทรัมป์ได้เคยทำมาแล้วกับมรดกตกทอดจากโอบามานั่นแหละ”

พวกรายงานจากจีนมีการยอมรับกันว่ากำลังมีการติดต่อกันทางประตูหลังกับแวดวงของไบเดน การที่จีนตัดสินใจส่งคำอวยพรแสดงความยินดีที่ชนะเลือกตั้งไปถึงไบเดน ย่อมเป็นการบ่งชี้ว่า ปักกิ่งต้องการส่งสัญญาณไปถึงว่าที่ประธานาธิบดีผู้นี้ให้ละลายสายสัมพันธ์ที่ถูกแช่แข็ง ถึงแม้มีความเสื่อมถอยเกิดขึ้นในปัจจุบันก็ตามที

แท้ที่จริงแล้ว กำลังมีการอภิปรายถกเถียงกันอย่างหลากหลายเกิดขึ้นในสหรัฐฯ เกี่ยวกับวิธีการในการรับมือกับการท้าทายของจีน, ควรใช้นโยบายการค้าประเภทไหนจึงจะบังเกิดดอกผล, เส้นทารงของ “สงครามเทค” จะสามารถเดินไปได้ไกลเพียงใด, และเรื่องอื่นๆ อีก สมมุติฐานที่ว่าจะต้องมีความตึงเครียดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องมีความยากลำบากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ระหว่างสหรัฐฯกับจีนนั้นถือว่ามีเหตุมีผลอยู่หรอก แต่ประเทศทั้งสองก็ไม่จำเป็นว่าได้ถูกชะตากรรมขีดเอาไว้แล้วว่าจะต้องเกิดความขัดแย้งเผชิญหน้ากัน

นโยบายจีนที่มีความสร้างสรรค์มากขึ้นกำลังอยู่ระหว่างการปรุงขึ้นมา ระยะเวลาของการมองโลกแง่ดีในเรื่องความสัมพันธ์จีน-อเมริกันได้กลายเป็นประวัติศาสตร์ไปแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องเกี่ยวกับความสามารถของสหรัฐฯในการทำให้จีนเคลื่อนตัวไปในทิศทางซึ่งสหรัฐฯต้องการ—ไม่ว่ามันจะเป็นพวกนโยบายทางเศรษฐกิจหรือประเด็นปัญหาทางการเมืองก็ตาม



กำลังโหลดความคิดเห็น