xs
xsm
sm
md
lg

สุดล้ำ! พบ ‘พลั่วงาช้าง’ อายุ 99,000 ปี ในซันตง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:


พลั่วทำจากงาช้างอายุราว 99,000 ปี ที่ถูกขุดพบบริเวณชั้นหินในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภออี๋สุ่ย มณฑลซันตง (ภาพจาก https://news.sohu.com/a/503819555_121124392)
คนโลกยุคปัจจุบัน ต้องอุทาน “ว้าว..ว้าว!” กันเลยทีเดียว กับข่าวค้นพบว่าจีนมีพลั่วทำจากงาช้างใช้กันในยุคราวหนึ่งแสนปีที่ผ่านมา

สำนักข่าวซินหัวและกลุ่มสื่อจีนรายงานข่าวการขุดพบพลั่วทำจากงาช้างอายุราว 99,000 ปี โดยทีมนักโบราณคดีได้พบพลั่วงาช้างอายุเกือบแสนปีนี้บริเวณแหล่งขุดค้นยุคหินเก่าแห่งหนึ่งในมณฑลซันตงทางภาคตะวันออกจีน และเชื่อว่าพลั่วจากงาช้างฯนี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือจากกระดูกสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดที่มีการค้นพบในจีน

พลั่วทำจากงาช้างอายุราว 99,000 ปี ที่ถูกขุดพบบริเวณชั้นหินในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภออี๋สุ่ย มณฑลซันตง (https://news.sina.com.cn/o/2021-11-24/doc-iktzqtyu9276757.shtml)
หลี่กัง นักวิจัยจากสถาบันโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมและโบราณคดีประจำมณฑลซันตง แจงรายละเอียดว่าพลั่วทำจากงาช้างดังกล่าวถูกค้นพบตรงชั้นหินในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภออี๋สุ่ย มณฑลซานตง ในบริเวณชั้นหินนี้ที่มีความหนาเกือบ 8 เมตรแห่งนี้ เจ้าหน้าที่ได้พบชั้นดินทางวัฒนธรรม 8 ชั้น พร้อมกับสิ่งประดิษฐ์จากหิน กระดูก ฟัน และเขาสัตว์ ตลอดจนซากสัตว์มากกว่า 5,000 ชิ้น

ชิ้นส่วนงาช้างและกระดูกสัตว์ที่ถูกนำมาทำเป็นเครื่องไม้เครื่องมือในยุคราวแสนปี ที่ขุดพบในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภออี๋สุ่ย มณฑลซันตง (แฟ้มภาพจาก chinanews.com)
การค้นพบเครื่องมืออุปกรณ์ใช้สอยที่ทำจากงาช้างในยุคเก่าแก่ประมาณ 100,000 ปีที่แล้ว นับเป็นที่พบเห็นได้ยากในโลก

หลี่กล่าวว่าพลั่วงาช้างและดินในชั้นหินเดียวกันจากแหล่งขุดค้นนั้น ถูกระบุอายุด้วยวิธีอนุกรมยูเรเนียม (uranium series) และวิธีโฟโตลูมิเนสเซนซ์ (photoluminescence) โดยข้อมูลการระบุอายุพบว่าพลั่วงาช้างและดินมีอายุ 99,000 และ 104,000 ปีตามลำดับ

กลุ่มคนงานในบริเวณ แหล่งขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภออี๋สุ่ย มณฑลซันตง (แฟ้มภาพจาก chinanews.com)
ทั้งนี้ หลี่ระบุว่าพลั่วงาช้างเก่าแก่ถึงแสนปีชิ้นนี้แสดงถึงวิถีชีวิตและการประดิษฐ์เครื่องมือใช้สอยงานต่างๆของมนุษย์ในยุคแรก โดยมีความสำคัญต่อการศึกษาวิวัฒนาการของมนุษย์ยุคโบราณในจีนและในเอเชียตะวันออก
กำลังโหลดความคิดเห็น